รีวิวหนังฝรั่ง Pacific Rim
บนเส้นทางแห่งความพ่ายแพ้ รีวิวหนังฝรั่ง Pacific Rim
เยเกอร์ในภาคนี้สร้างโดย แพน แปซิฟิก ดีเฟนซ์ คอร์ปอเรชั่น
เจ้าของเทคโนโลยีเยเกอร์ดั้งเดิม ร่วมกับ เชา อินดัสตรี ผู้ผลิตเยเกอร์จากประเทศจีน ดาราจีนมาเข้าฉากเยอะมาก และพูดจีนล้วน ๆ เทียน จิง (The Great Wall , Kong:Skull Island) ดาราจีนที่มาฮอลลีวู้ดรายล่าสุด มารับบทนำเป็น ลีเวน เชา เจ้าของเชา อินดัสตรีมาในภาพลักษณ์สวย เชิด หยิ่ง ทั้งเรื่อง แถมบทยังอวยให้เธอได้เป็นฮีโร่ในฉากสำคัญด้วย หนังยังใส่ฉากต่อสู้ใหญ่ ๆ ในออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เห็นได้ชัดว่าผู้สร้างมาแนวนี้ต้องหวังผลอย่างมากตอนที่หนังไปฉายในจีน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น บทหนังพยายามจะสอดแทรกมุกตลกเข้าไปบ้าง แต่ผลที่ได้คือแป้ก ก็เลยกลายเป็นว่าภาคนี้เป็นภาคที่ขาดแคลนอารมณ์ขัน ไม่ได้หัวเราะเลยสักแอะเดียว แต่ก็เอาน่าดูเอามันส์ ก็ยังได้มันส์อยู่เพียงแค่สองนักขับเยเกอร์ของสหรัฐฯ นาม ‘Gipsy Danger’ ก็มีสีสันแล้ว เมื่อ เรลีห์ เบคเก็ต (Charlie Hunnam) น้องชายของพี่ที่เคยถูกไคจูฆ่าไปต่อหน้าต่อตาในภารกิจวันนั้น ความหลังมันยังฝังใจอยู่ไม่ลืม กับหญิงสาวชาวญี่ปุ่น มาโกะ โมริ (Rinko Kikuchi) ที่มีความหลังอันน่าสะเทือนใจในอดีตที่ผลักดันให้เธอเลือกจะมาเป็นผู้ควบคุมหุ่นเยเกอร์ ปมในใจของทั้งสองคนจะพาภารกิจสำคัญของมวลมนุษยชาติให้หักเหไปเช่นใด อย่าให้ต้องเล่าเลยนะครับ
สัตว์ประหลาดที่ขึ้นมาจากทะเลลึก ออกมาต่อสู้กับหุ่นยักษ์ที่มนุษย์ร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นความหวังสุดท้ายของพวกเขา ดูแล้วไม่คิดถึงการ์ตูนญี่ปุ่นคงเป็นไม่ได้จริงๆ ก็ขนาดนักแสดงยังเลือกที่จะเอาคนญี่ปุ่น (ผมหมายถึง Rinko Kikuchi) มาร่วมเล่นเลย จำได้ว่าช่วงก่อนหน้านี้มีหนังหุ่นยนต์สู้สัตว์ประหลาดเข้าโรงติดๆกันเลย เรื่องนี้ก็เหมือนกัน
ตั้งแต่เข้าฉายก็ยังมีกระแสเข้ามาเรื่อยๆ มีคนพูดถึงอยู่ตลอด และยังมีแฟนบอยที่รอคอยภาคต่อไปกันอย่างถ้วนหน้า เรื่องราวเมื่อวันหนึ่งโลกถูกสัตว์ประหลาดที่เรียกว่า “ไคจู” บุก ทำลายบ้านเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวยมากจนได้มีการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อสู้กับมัน โดยมีผู้คุมหุ่นนั้นสองคนเปรียบเป็นสมองซ้ายและขวา ราห์ลีเคยขับหุ่นตัวหนึ่งแต่ต้องเสียพี่ชายไประหว่างการต่อสู้ เขาหันไปทำงานก่อสร้างแทนแต่แล้ววันหนึ่งก็ถูกเรียกให้กลับไปขับหุ่นอีกครั้ง
คือภาพยนตร์ที่มอบพลังโหยหาอดีตหุ่นประกอบของเรารวมถึงเจ้าสัตว์ประหลาดให้เป็นจริง
แม้จะผ่านเวลานับสิบปีแต่เราก็ยังเลือกข้างในฝ่ายธรรมะ ที่ต้องทำลายเจ้าสัตว์ประหลาดให้ซากสิ้นเพื่อปกป้องโลกของเรา แม้เรื่องราวในภาพยนตร์ได้ทำลายจินตนาการของเราลงให้เหลือแต่ความสมจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ อีกทั้งอำนาจอาญาสิทธิ์ที่เราเคยได้รับมอบในจินตนาการก็ไม่มีหลงเหลืออีกแล้วในวันนี้ เพราะมันถูกสร้างและแต่งเติมโดยผู้กำกับ กิลเลอร์โม่ เดอโทโร่ ที่เราไม่มีสิทธิ์แต่งเติมใดๆนอกจากเฝ้าดู
ภาพยนตร์ใช้เวลาเปิดเรื่องโดยให้น้ำหนักไปกับ ราลีห์ เบ็กเก็ตต์(ชาลี ฮันแนม) คนบังคับหุ่นที่ชะล่าใจทำให้สัตว์ไคจูมาทำร้ายจนสูญเสียพี่ชายและไม่สามารถกลับมาร่วมงานคู่กับใครได้อีก จนกระทั่งพบกับหญิงญี่ปุ่นมาโกะ โมริ(ริงโกะ คิคูจิ) ที่มีภูมิหลังไม่ดีเกี่ยวกับความทรงจำเช่นกัน
ถ้าจะให้พูดกันตามตรงแล้ว หนังเรื่อง Pacific Rim Uprising แปซิฟิค ริม ปฏิวัติพลิกโลก ก็ไม่ได้มีอะไรเลวร้าย เพียงแต่โชคไม่ค่อยดีนัก ที่ดันมาออกฉายใกล้ๆ กับหนังที่พลิกประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ Hollywood อย่าง Black Panther ทำให้คนดูคาดหวังกับ Pacific Rim Uprising แปซิฟิค ริม ปฏิวัติพลิกโลก เอาไว้มาก และพอได้รู้ว่านักแสดงนำจะเป็นชาวผิวสี ก็ทำให้หลายคนเริ่มที่จะลองเปลี่ยนแนวมาชมหนังในสไตล์แบบนี้บ้าง สังเกตได้ง่ายๆ เลยว่า ปกติแล้วหนังแอคชั่นไซไฟแบบนี้ ส่วนใหญ่คนดูมักจะเป็นผู้ชาย แต่งานนี้กลับมีผู้หญิงมาดูอยู่ไม่น้อย และแน่นอนว่าเราอุตส่าห์เลิกโรงหนังที่อยู่ห่างไกล ในวันเวลาที่ไม่น่าจะมีใครมาดูหนังกันสักเท่าไหร่ แต่กลับมาคนตีตั๋วเข้ามาชม Pacific Rim Uprising แปซิฟิค ริม ปฏิวัติพลิกโลก กันอย่างหนาตาเลยทีเดียว
คุณเริ่มคิดแล้วใช่ไหมว่า แบบนี้มันน่าจะเป็นผลดีสิ แล้วมันจะแย่ได้ยังไง?
ประเด็นก็คือ Pacific Rim Uprising แปซิฟิค ริม ปฏิวัติพลิกโลก ไม่ได้ดีเทียบเท่ากับ Black Panther น่ะสิ แถมยังทำเหมือนคนผิวสีเป็นตัวตลกเหมือนอย่างหนังเรื่องอื่นๆ อีกด้วย จะเอาการเอางานก็แต่เฉพาะเวลาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เท่านั้น ทำให้พระเอกของเรื่องดูเหมือนกับคนที่จะพยายามหนีปัญหามากกว่าเป็นวีรบุรุษที่แท้จริง และการที่เขาได้เป็นฮีโร่ช่วยโลกในครั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะว่าเขาไม่มีทางเลือกอื่นก็เป็นได้
สิ่งที่น่าสงสัยสำหรับประเด็นนี่คือ รีวิวหนังฝรั่ง Pacific Rim
ทำไมตัวไคจูมักออกมาในช่วงที่ฟ้าสางหรือกลางค่ำกลางคืนที่มืดมิดจนมีปัญหาในความชัดเจนที่ทำให้ผู้ชมไม่ได้รับอย่างเต็มรูสองตา จนผู้เขียนจำไม่ได้ว่ามีฉากไหนหรือไม่ที่เราเห็นฉากต่อสู้เด่นชัดจนเห็นรายละเอียดของหุ่นที่ทุ่มเงินไปมหาศาลอย่างมากมายได้ประจักษ์ชัด เพราะเราถูกความมืดปกคลุมจนแทบจะต้องใช้จินตนาการรับชม หากเป็นความตั้งใจของการออกแบบงานสร้างเพื่อเรียกร้องจินตนาการก็ถือว่าจัดเต็มได้ดี แต่ผู้เขียนเคยได้ยินมาว่าการที่ฉาก Cg นั่นต้องอยู่ในสภาพมืดเพื่อป้องกันเห็นรอยแผลจากงานสร้างที่ทำหน้าที่ไม่ได้เต็มประสิทธิภาพมากนัก
ปัญหาอีกประการที่ผู้เขียนรู้สึกตะหงิดใจตลอดเวลาการรับชมคือ ขณะที่ ราลีห์ เบ็กเก็ตต์ กับ มาโกะ โมริ เข้าคู่แท็คทีมบังคับหุ่นกันในช่วงสำคัญของเรื่อง หรือแทบจะตลอดเรื่อง ทำไมเราไม่เห็นการบังคับหุ่นของมาโกะ ที่มากพอ เห็นแค่เฉพาะตัว ราลีห์ สั่งการเท่านั้น นี่คือความต้องการที่เราจะเห็นแต่เราไม่ได้รับการตอบสนองที่เพียงพอ จนเสมือนว่ามาโกะไม่ได้ถ่ายทำฉากเหล่านั้นด้วยซ้ำไป นี่ทำให้เรารู้สึกเสมอว่ามันมีรายละเอียดงานสร้างๆที่ขาดๆเกินๆเสมอในภาพยนตร์เรื่องนี้
ผู้เขียนให้ความสำคัญจับผิดละเล็กละน้อยเพราะฉากเหล่านั้นที่กล่าวไปคือหัวใจของภาพยนตร์เรื่องนี้จริงๆ เพราะอย่างที่แซ่ซ้องไปแล้วว่า เรื่องราวหรือบทของภาพยนตร์ไม่มีส่วนใดให้น่าติดตามหรือดึงดูดความสนใจกระทั่งเก็บมาเขียนต่อได้ยาวๆเลย จะมีความน่าสนใจในส่วนเรื่องของการแชร์ความทรงจำร่วมกันในการบังคับหุ่นซึ่งเราเห็นว่าภาพยนตร์ใช้เวลาเน้นน้ำหนักไปกับตัวมาโกะมากมาย ในความทรงจำยามเด็กซึ่งเป็นการสร้างความน่าสนใจของภูมิหลังของเธอ แต่หาใช่เพื่อทำให้เธอเรียนรู้ที่จะผ่านไปหรือไม่แต่อย่างใดเพราะต้องการเพิ่มน้ำหนักให้กับความเป็นคนดีของผู้การสแตร๊คเกอร์(ไอดริส เอลบา)เสียมากกว่านั่นเอง
อีกส่วนที่ขอกล่าวถึงคือการดำเนินเรื่องและความสำคัญของเรื่องราว ผู้ชมถูกรับรู้ว่ามีการบุกรุกของตัวไคจู ซึ่งแน่นอนเป้าหมายคือการกำจัด และการกำจัดคือเป้าหมายแรกตั้งแต่ต้นยันจบเรื่อง แล้วหนังก็ให้น้ำหนักเทไปตั้นแต้ต้นเรื่องเลย ซึ่งทำให้ผู้ชมคาดเดาแล้วโฟกัสไปถึงที่หมายได้รวดเร็วตั้งแต่ต้น แต่ด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้ฉากแอคชั่นต้องแบกหนังไว้ทั้งเรื่องเพราะเนื้อเรื่องมันเป็นสิ่งตรงดิ่งเส้นเดียวคือต้องกำจัดไคจูสถานเดียว ไม่ได้ลัดเลาะเลียบทางด่วนหรือที่เรียกว่าชั้นเชิงไปยังจุดหมายอื่นใด อาจมีบ้างตรงที่ขายความตลกของ ชาร์ลี เดย์,เบิร์น กอร์แมน และรอน เพิร์ลแมน ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ผู้เขียนผ่อนคลายต่อเส้นเรื่องหลักได้เป็นอย่างมาก เพราะเส้นเรื่องมันเดินตรงแข็งทื่อจนขาดชั้นเชิงมากไป และเชื่อว่าถ้าหนังขาดตัวละครทั้งสามนี่ไปมีสิทธ์ที่จะต้องลาหลับกันได้เลยทีเดียว
ทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าภาพยนตร์ Pacific Rim ให้ความสำคัญการฉากแอคชั่นและกระบวนการผลิตหุ่นและงานด้านคอมพิวเตอร์เป็นสำคัญซึ่งทำได้ในระดับที่เกินหน้าเกินตาเพียงแต่มันไม่ได้ช่วยหรือไปพร้อมกับส่วนประกอบอื่นๆที่ควรเป็น และถึงแม้หนัง กิลเลอร์โม่ เดอโทโร่ จะทิ้งประเด็นเรื่องหุ่นอนาล็อก กับหุ่นดิจิตอลไว้น่าคิด นั่นคือแค่ไฟดับลงความดิจิตอลก็แทบมลาย ต่างจากเครื่องใช้อนาล็อกที่พร้อมใช้ตลอดเวลาไม่ว่าจะผ่านไปนานเพียงไร ซึ่งเป็นประเด็นร่วมสมัยที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกนานเท่านาน