รีวิวหนังฝรั่ง Thor Love and Thunder (2022)
สำหรับเหตุการณ์หลัก ๆ ใน ‘Thor Love and Thunder’ จะเริ่มที่ความคลั่งแค้นของ กอร์ หนังฟรี พ่อที่ต้องสูญเสียลูกสาวไปกับความแร้นแค้น และเทพที่เขาศรัทธาก็หันหลังให้กับเขาจนกระทั่งกอร์ได้สังหารเทพองค์แรกด้วยเนโครซอร์ด กอร์ก็ให้คำมั่นสัญญาว่าจะตามล้างบางเหล่าทวยเทพทั้งปวง ซึ่งภารกิจหลักของกอร์คือการบุกแอสการ์ด ทำให้ ธอร์ วัลคีรี และเจน ฟอสเตอร์ในมาดของไมตี้ ธอร์ ดูหนังฟรี ต้องหยุดกอร์ให้ได้ก่อนมันเดินทางไปสู่อีเทอร์นิตี้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หนังใหม่ แห่งจักรวาลและทำความปรารถนาสุดอำมหิตของมันให้สำเร็จ ดูหนังออนไลน์ฟรี 2022
หากให้คำนิยามสั้น ๆ รีวิวหนังฝรั่ง Thor Love and Thunder (2022)
คงต้องเป็น สนุก ดูง่าย ขำได้แทบทุกฉาก เพราะเป็นภาพยนตร์ที่อัดมุกมาแน่นราวกับกลัวคนดูไม่ขำ เก็บครบไม่ว่าจะห้าบาท สิบบาท หรือ เหรียญสตางค์ กับเรื่องราวของ ธอร์ (รับบทโดย คริส เฮมส์เวิร์ธ) ดูหนังออนไลน์ ผู้กำลังตามหาความสงบจากภายในหลังจากเผชิญความสูญเสียมาหลายครั้ง เขากลับมาดูแลตัวเองให้หุ่นดีและออกทำภารกิจช่วยเหลือตามแต่คนจะร้องขอ ดูหนัง และคราวนี้เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับภารกิจใหญ่ เมื่อมีกอร์ นักเชือดเทพเจ้า (รับบทโดย คริสเตียน เบล) ออกล่าชีวิตเทพเจ้าไปทุกที่ ทำให้เขาต้องหาทางเอาชนะกอร์ให้ได้ และในขณะเดียวกันหัวใจของธอร์ก็ต้องสั่นไหวเหมือนโดนสายฟ้าฟาด เมื่อเจน (รับบทโดย นาตาลี พอร์ทแมน) แฟนเก่าที่หายไปจากชีวิตเขาถึง แปดปี เจ็ดเดือน กับหกวัน กลับเข้ามาในชีวิตในฐานะไมตี้ธอร์ พร้อมกับควงโยเนียร์ค้อนเก่าของเขากลับมาด้วย คราวนี้ถ่านไฟเก่าจะร้อนรอวันรื้อฟื้นหรือไม่ต้องมาดูกัน ดูหนังออนไลน์ฟรีไม่มีโฆษณา
ต้องยอมรับว่านอกจากรูปลักษณ์และชื่อเสียงของซูเปอร์ฮีโรที่มาจากคอมิกของธอร์แล้ว การสวมบทบาทของ คริส เฮมส์เวิร์ธ (Chris Hemsworth) ก็เป็นหลักฐานชั้นดีว่าบางคาแรกเตอร์มันก็เลือกนักแสดง ซึ่งนับจากปี 2011 ที่เราได้เห็นพี่เฮมส์เวิร์ธเป็นขุนค้อน ผู้ชมก็ไม่อาจสลัดภาพของเขาออกจากตัวของธอร์ได้ ดูหนังออนไลน์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับล่ะนะครับว่าเสน่ห์เฉพาะตัวของเขาที่สร้างให้กับธอร์เองก็ดันทำให้ผู้ชมชินกับภาพเดิม ๆ ดูหนัง จนเราอาจไม่ค่อยเซอร์ไพร์สเท่าไหร่แล้วกับการปรากฎตัวของเขา เอาเป็นว่าเฮมส์เวิร์ธก็ยังเป็นธอร์ที่เรารักได้เหมือนเดิมแหละครับ แถมแฟนเซอร์วิสด้วยฉากโชว์ก้นที่สาว ๆ รอคอยแต่ยังเทียบกับอีก 2 คนที่เราจะพูดถึงไม่ได้
และสำหรับคนแรกที่เราจะพูดถึงก็คือ คริสเตียน เบล (Christian Bale) นักแสดงอังกฤษเจ้าบทบาทที่เคยสวมชุดมนุษย์ค้างคาวมาแล้วในไตรภาค ‘The Dark Knight’ ของค่ายดีซี แต่พอข้ามฝั่งมามาร์เวล เบล ถูกทาตัวขาวใบหน้ามีแผลเป็นเหมือนอสุรกายร่างย่อม ๆ ที่ทรงพลัง แต่เมกอัปและความเป็นแฟนตาซีไม่อาจบดบังฝีมือการแสดงอันเอกอุได้ ไม่แปลกใจเลยที่ไวทิทิ ผู้กำกับเลือกให้เวลาตอนเปิดเรื่องเล่าที่มาความเจ็บปวดของวิลเลียนตัวล่าสุดอย่างกอร์ เพราะเบลสามารถถ่ายทอดความคับแค้นใจ และบาดแผลที่ลูกรักถูกพรากไปได้อย่างหมดจดและทรงพลัง
อีกคนที่อาจไม่ใช่หน้าใหม่แต่เป็นความน่ายินดีกับการกลับมาก็หนีไม่พ้น นาตาลี พอร์ตแมน ที่กลับมารับบท ดร. เจน ฟอสเตอร์ ซึ่งจากตัวอย่างหนังเราคงเห็นกันไปแล้วว่าเธอมาในมาดสุดเท่ แต่ในหนังจริง ที่มาที่ไปของพลังที่ทำให้เธอได้ครองค้อนโยเนียร์ก็ทำให้บทฟอสเตอร์ของเธอคราวนี้เป็นการกลับมาที่ไม่ใช่แค่กิมมิกของเรื่องราว แต่มันยังส่งผลต่อคาแรกเตอร์หลักอย่างธอร์ และที่สำคัญคือมันเติมอารมณ์โรแมนติกให้กับเรื่องราวของหนังได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้หนังยังได้ รัสเซล โครว์ (Russell Crowe) มารับบทซุส
ที่ทำคนดูฮาจนหัวไหล่ทรุดไม่น้อย นับว่าเป็นดาราเบอร์ใหญ่ที่ยอมมาเล่นบทติงต๊องได้บันเทิงมาก ๆ ครับ จริง ๆ อาจจะไม่ใช่ของใหม่สำหรับการมากุมบังเหียนของ ไทกา ไวทิทิ อีกครั้งสำหรับหนัง ธอร์ แต่สำหรับ ‘Thor Love and Thunder’ ไวทิทิดูจะมั่นใจมากขึ้นสำหรับการใส่มุกโบ๊ะบ๊ะต่าง ๆ เข้าไปในเหตุการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานต่าง ๆ ที่สำคัญเขายังสามารถคุมโทนอารมณ์ขันของหนังให้อบอวลไปพร้อม ๆ กับอารมณ์โรแมนติกที่คละคลุ้งและเป็นธีมหลักในการเล่าเรื่องของหนังได้อย่างกลมกล่อม แม้จะต้องติงไว้นิดนึงว่าตัวหนังเองก็มีมุกคาบลูกคาบดอกเกี่ยวกับ ‘เซ็กส์หมู่’ และ ‘เซ็กส์ระหว่างเพศเดียวกัน’ แอบ ๆ ซ่อน ๆ อยู่ในหนังจนบางทีก็ไม่ค่อยเหมาะกับการให้เด็กเล็กดูสักเท่าไหร่ก็ตาม
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่านี่เป็นภาพยนตร์ดูง่าย ไม่เครียด ความเศร้าอยู่ไม่นานก็สลายตัวไปอย่างเร็ว ภาพสวย รวยฉากแอ็คชั่นที่ทำได้ดีเสมอตามมาตราฐานมาร์เวล ทำให้ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี สนุกตลอดเรื่องแบบไม่มีหยุดพัก โดยมีสไตล์ที่ต่อเนื่องกับภาคก่อน Thor Ragnarok แต่ถ้าหากภาคก่อนล้างความเป็นธอร์ในแบบสองภาคแรกไปจดหมดเหมือน ในภาคนี้ความเป็นธอร์ก็ถูกหลอมรวมขึ้นมาใหม่และสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งคล้ายกับจะสื่อผ่านการที่โยเนียร์แตกเป็นเสี่ยง และรวมขึ้นมาใหม่ในภาคนี้
หากมองอีกมุมหนึ่งความเป็นธอร์ที่เปลี่ยนไปจากสองภาคแรก
ก็คล้ายจะสะท้อนความเป็นชายที่สมบูรณ์แบบซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากที่เคยเป็นเทพที่สมบูรณ์แบบทั้งรูปกายภายนอก พละกำลัง ความเก่งกาจ กล้าหาญ เป็นที่สุดของ sterotype ความเป็นชาย เขาได้กลายเป็นคนที่สูญสิ้นสิ่งนั้นไปทั้งหมดใน Thor Ragnarok ค่อย ๆ กู้มันกลับมาในท้ายเรื่อง ก่อนจะกลับมาสู่ความเป็นชายที่สูมบูรณ์แบบในบริบทของปัจจุบันในภาคนี้โดยมีจิตใจที่ดี
ไม่เห็นแก่ตัว เอาสวัสดิภาพของคนรักมาก่อน ไม่เกรงกลัวหรือหวั่นไหวเมื่อมีผู้หญิงเก่งมายืนข้าง ๆ หรือนำหน้าในบางครั้ง ไม่แบ่งแยกเพศหรือชาติพันธุ์ แบ่งปันพลังของตนเองให้คนอื่นได้ การเป็นผู้ชายที่เจ็บได้ร้องไห้เป็น ก้าวข้ามผ่านความรู้สึกของการสูญเสียได้ แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นธอร์ในแบบดั้งเดิมคือการใช้ตัวละครและการเชื่อมโยงกับศาสนาและตำนานกรีก อย่างการปรากฏตัวของเทพต่าง ๆ รวมไปถึงซูส การนำละครเวทีซึ่งเป็นหนึ่งในอารยธรรมกรีกเข้ามาร่วมด้วย
ต่อมาด้านการดำเนินเรื่อง รีวิวหนังฝรั่ง Thor Love and Thunder (2022)
ส่วนนี้ถือว่าทำได้ดีเยี่ยมตามมาตรฐาน ดำเนินเรื่องไปแบบฉับไว รวดเร็ว น่าติดตามพอสมควร แม้ว่าผมจะบอกว่าบทมันดูราบเรียบไร้น้ำหนัก แต่การดำเนินเรื่องของภาคนี้นั้นดีมากจนเรามองข้ามเรื่องบทไปได้ คือมันสนุกดูเพลิน แบบรู้ตัวอีกทีหนังก็จบแล้ว ไม่มีจังหวะไหนในเรื่องที่เว้นว่างให้เรารู้สึกเบื่อเลย ส่วนนี้ถือเป็นจุดแข็งจริงๆ คือใครที่ชอบหนังที่มอบความบันเทิงแบบจัดเต็ม แอ็คชั่นหนักๆ คอมเมดี้เยอะๆ มีจังหวะให้เราได้หัวเราะทั้งเรื่อง ผมว่าคุณน่าจะหลงรักหนังเรื่องนี้ได้ไม่ยาก และใครที่ชื่นชอบ Thor: Ragnarok (2017) เป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็น่าจะชอบเรื่องนี้เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นหนังที่ย่อยง่ายสุดๆ เหมาะกับการเป็นหนังบล็อกบัสเตอร์จริงๆ
“ไทกา ไวทีที” สามารถใส่ลูกเล่นและความเป็นตัวเขาเองเข้าไว้ได้อย่างสร้างสรรค์ ด้วยพรสรรค์ในการสร้างจังหวะโบ๊ะบ๊ะของเขา ถูกนำมาใช้ในหนังเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ จึงทำให้อรรถรสของหนังเรื่องนี้ยังค่อนข้างกลมกล่อมดี เมื่อมาผนวกเข้ากับการอิมโพรไวซ์อย่างมืออาชีพของทีมนักแสดงชุดนี้ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้หนังประคับประคองความบันเทิงได้ดีไปตลอดทาง
แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่า อาจจะยังไม่ถึงกับเป็นหนังที่น่าประทับใจที่สุดของจักรวาลมาร์เวล ตัวหนังอาจจะสนุกและสร้างความบันเทิงได้ดี แต่ในด้านเนื้อหาอะไรต่าง ๆ ยังค่อนข้างขาดความอิมแพ็คที่อาจจะถูกคาดหวังไปสักหน่อย แต่กระนั้นก็ชื่นชมที่หนังกลับมีความเป็นเอกเขนกในตัวเองค่อนข้างเด่นชัดยิ่งขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการเชื่อมโยงเข้ากับจักรวาลใหญ่ในภาพรวม
แต่มันเป็นอารมณ์นี้จริง ๆ เพราะนอกจากเพลง ‘Sweet Child o’Mine’ ของวง ‘Guns N’ Roses’ ที่ได้ยินมาตั้งแต่เทรลเลอร์หรือตัวอย่างหนังแล้ว การเข้ามากุมบังเหียนของ ไมเคิล จีแอ็กชิโน (Michael Giacchino) ยังเพิ่มความร็อกให้หนังไปอีกเท่าตัว ที่สำคัญเมื่อได้จิแอ็กชิโน ผู้ประพันธ์สกอร์ประจำคาแรกเตอร์อย่าง ‘Spider-Man’ ที่ติดหูแฟนมาร์เวลมาตลอด ก็ถึงคราวที่จิแอกชิโนได้สร้างเพลงธีมใหม่ให้กับธอร์ ซี่งบอกเลยว่าโคตรร็อกและโคตรโดนอย่างยิ่ง นอกจากนี้หนังยังแอบใส่เพลงป๊อปหวาน ๆ อย่าง ‘Our Last Summer’ ของวง ‘ABBA’ ไปในหนังได้อย่างถูกจังหวะจะโคนอีกด้วย
ตัวละครกอร์
ผู้มีความแค้นกับเทพเจ้าที่เพิกเฉยต่อคำร้องขอและเยาะหยันสาวกของเขาจนเกิดเป็นภารกิจการสังหารเทพเจ้าครั้งใหญ่ ก็ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในสหรัฐที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง การที่กอร์นั้นไม่ได้เป็นบ้า แต่ทำทุกอย่างเพราะความปราถนาที่จะแก้แค้นของเขาซึ่งทำให้เขาเป็นผู้ที่ถูกดาบเนโครซอร์เลือกและได้รับพลังจากมัน ก็ชวนให้นึกถึงการที่นักวิชาการหลายคนได้ออกมาพูดถึงการที่การสังหารหมู่นั้นไม่ได้เกิดจากการที่ฆาตกรนั้นวิกลจริต แต่พวกเขามีสติสัมปชัญญะและการวางแผนอย่างรอบคอบ แต่แน่นอนว่าสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเขานั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุทีทำให้เกิดความคิดทำจะทำแบบนั้นได้
บทความจาก ABC เผยว่าหลังการระบาดของโควิด-19 ความถี่ของเหตุการณ์กราดยิงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะสถานการณ์เพิ่มความกดดันทางจิตใจและการเงิน ผ่านความกลัวความตาย ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอน ซึ่งอาจจะนำมีสู่การเพิ่มความถี่ของการก่อเหตุกราดยิงได้ ซึ่งก็ไม่ต่างกับสถานการณ์ที่กอร์เผชิญ ทั้งความยากแค้น ความตายที่มารออยู่ตรงหน้า และสภาพจิตใจที่ย่ำแย่จากการเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าต้นเหตุของโศกนาฏกรรมนั้นอาจจะมาจากการบริหารงานที่ย่ำแย่และความเพิกเฉยของผู้นำ ซึ่งเทียบได้กับเทพเจ้าที่บันดาลความเป็นไปของประชาชน ซึ่งทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้นั่นเอง