รีวิวหนังฝรั่ง The Irishman

รีวิวหนังฝรั่ง The Irishman คนใหญ่ไอริช หนังฟอร์มยักษ์ทุนสร้าง 159 ล้านเหรียญของ Netflix สูงสุดที่เคยมีมา และก็ตั้งเป้าเป็นหนังสายรางวัลที่เล็งกวาดออสการ์ หนังได้ดารารุ่นใหญ่ โรเบิร์ต เดอ นีโร, อัล ปาชิโน่ และโจ เปสซี กลับมาร่วมงานหนังแก๊งสเตอร์แนวถนัดกันอีกครั้ง ผ่านการกำกับของมาร์ติน สกอร์เซซี่ รีวิวหนังฝรั่ง

บอกเล่าเรื่องราวองค์กรอาชญากรรมในอเมริกาช่วงหลังสงครามผ่าน มุมมองของแฟรงค์ ชีแรน ทหารผ่านศึกสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กลายมาเป็น 1 ในบุคคลสำคัญของแก๊งมาเฟียอิตาลีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของจิมมี่ ฮอฟฟา ผู้นำสหภาพแรงงานในตำนาน ที่คดียังไม่มีการไขกระจ่างมาจนทุกวันนี้  ดูหนัง

หนังดัดแปลงจากหนังสือ I Heard You Paint Houses ปี 2004 ของชาร์ลส์ แบรนด์ ว่าด้วยบันทึกการสัมภาษณ์ของแฟรงค์ ชีแรน อดีตหนึ่งใน 3 ของผู้นำสูงสุดแก๊งมาเฟียอิตาลี ที่มีเชื้อสายไอริชเพียงคนเดียว โดยเขาสารภาพว่าเป็นคนสังหารเพื่อนของเขา จิมมี่ ฮอฟฟา ผู้นำสหภาพแรงงานที่หายตัวไปอย่างปริศนาเมื่อปี 1975 อ่านเรื่องราวต่อที่นี่ จิมมี่ ฮอฟฟ่า คดีอุ้มฆ่ามาเฟีย เรื่องจริงใน The Irishman โดย มาร์ติน สกอร์เซซี่ ดูหนังออนไลน์ 

ก่อนอื่นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องกับการดูหนังเรื่องนี้ ต้องบอกว่านี่ไม่ใช่หนังแก๊งสเตอร์โดยตรงแบบที่เคยเห็นกันทั่วไป ถ้าคิดว่าจะได้เห็นฉากบู๊หรือฉากแนวแอ็กชั่นต่างๆ แม้แต่การดวลปืนกับตำรวจหรือระหว่างแก๊งจะไม่มีในหนังเรื่องนี้ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมในเรื่องก็ไม่ได้มีการอธิบายตรงๆ ดูหนังฟรี 

นี่เป็นหนังชีวประวัติของ “แฟรงค์ ชีแรน” ที่นำไปสู่เรื่องราวของ “จิมมี่ ฮอฟฟา” โดยตรง เป็นรื่องราวเชิง “บริบทของแก๊งสเตอร์” ตามที่ผู้กำกับมาร์ติน สกอร์เซซี่บรรยายไว้ในเบื้องหลังงานสร้างเรื่องนี้ ซึ่งมีให้ดูใน Netflix พร้อมกับหนัง (คลิกรับชมได้ที่นี่) โดยบริบทที่ว่านี้ก็คือ สิ่งต่างๆ ในสังคมอเมริกาที่เชื่อมโยงกับแก๊งมาเฟียอิตาลีนี้แทบทั้งหมด ตามที่ในหนังบอกไว้ว่า “ถนนทุกสายย้อนกลับมาที่นี่” และแก๊งนี้ก็เป็นเจ้าของถนนเส้นนี้นี่เอง เว็บดูหนัง

และเพื่อความสมบูรณ์ในการดูหนังเรื่องนี้ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดูผลงานหนังแก๊งสเตอร์ขึ้นหิ้งอีกเรื่องของผู้กำกับมาร์ติน สกอร์เซซี่ ด้วยนั่นคือ Goodfellas (1990) ชื่อไทย คนดีเหยียบฟ้า (คลิกรับชมผ่าน Netflix ได้ที่นี่) ซึ่งในเรื่องนี้จะอธิบายรากฐานแนวคิดโลกของมาเฟียอิตาลีโดยละเอียด เว็บดูหนังฟรี 

ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงเช่นเดียวกัน ทำให้เข้าใจเรื่องราวใน The Irishman ที่ตัดข้ามไปหลายอย่าง เช่น สถานะคนเชื้อสายไอริชในแก๊งอิตาลีเป็นอย่างไร ซึ่งตรงนี้จะเกี่ยวพันกับการที่แฟรงค์ ชีแรนเป็นคนพิเศษมากๆ ที่ได้รับแหวนผู้นำที่มีเพียงแค่ 3 วงในโลก อันเป็นไฮไลท์หนึ่งของหนังเรื่องนี้

รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยหลายๆ อย่างของสังคมแก๊งที่อาจจะไม่ได้มีอธิบายไว้ดีพอในไอริชแมน แต่ถ้าใครไม่คิดจะดูก็อ่านจากท้ายบทความจะมีสปอยล์บางส่วนไว้ให้ได้ทราบกันครับ แต่แนะนำว่าถ้าดูได้ควรดูด้วยตัวเองเป็นอย่างยิ่ง (ส่วนตัวหนังสนุกและบันเทิงแตกต่างจากไอริชแมนมากครับ) ที่พิเศษอีกอย่างคือ Goodfellas ดารานำเล่นโดย โรเบิร์ต เดอ นีโร กับ โจ เปสซี เช่นเดียวกัน และบทในเรื่องนี้กับไอริชแมนก็มีความต่างกัน เป็นสถานะมาเฟียที่เติบโตขึ้นอีกด้วย (ใน Goodfellas ยังไม่ใช่ระดับผู้นำแก๊ง)

รีวิวหนังฝรั่ง The Irishman

อย่างที่บอกไว้ในข้างต้นว่านี่เป็นเรื่องราว “บริบทของแก๊งสเตอร์” หนังเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเล่าอีกด้านของประวัติศาสตร์อเมริกาที่สุดแสนสกปรก ผ่านตัวละคร “แฟรงค์ ชีแรน” ที่ขึ้นตรงกับ “รัสเซล บัฟฟาลิโน” มาเฟียระดับบนสุดของแก๊งอิตาลี ซึ่งหนังให้เวลาการปูเรื่องแฟรงค์ตั้งแต่เป็นอดีตทหารผ่านศึกแล้วได้มาบังเอิญเจอกับรัสเซล

ก่อนที่จะได้รับงานเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงฆ่าคน ที่หนังในหนังใช้คำว่า “ช่างทาสีบ้าน” (เพราะยิงคนแล้วเลือดกระเซ็นติดผนัง ต้องทาสีกลบทับอีกที) และกลายเป็นมือหนึ่งของแก๊งที่ถูกไว้ใจมอบหมายให้ไปช่วยเหลือ “จิมมี่ ฮอฟฟา” ประธานสหภาพแรงงานอเมริกาที่กำลังมีปัญหาลึกๆ อยู่ในขณะนั้น

และก็กลายเป็นว่าแฟรงค์ได้กลายมาเป็นทั้งเพื่อนสนิท และก็คนในสายสหภาพแรงงานของจิมมี่ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จิมมี่จะถูกสอยเข้าคุกจากปัญหาส่วนตัวที่เกี่ยวโยงไปยังการเมืองระดับชาติ ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเริ่มของชนวนเหตุที่ทำให้จิมมี่กลายเป็นคนหายสูบสูญจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดมาจากการให้สัมภาษณ์ของของแฟรงค์ ชีแรนในบ้านพักคนชราในตอนต้นเรื่องที่กลายมาเป็น หนังสือ I Heard You Paint Houses ผมได้ยินว่าคุณรับทาสีบ้าน จากประโยคสนทนาผ่านโทรศัพท์ของแฟรงค์กับจิมมี่ครั้งแรก หนังตัดสลับเรื่องเล่าของแฟรงค์ในปัจจุบันไปยังอดีต

ผ่านการขับรถทางไกลตลอดเรื่องกับมาเฟียรุ่นพี่รัสเซล บัฟฟาลิโน ซึ่งในช่วงเวลานี้เป็นเส้นเรื่องหลักช่วงเวลากันก่อนที่จิมมี่ ฮอฟฟาจะหายตัวไป และหนังก็ใช้ช่วงเวลาเดินทางยาวไกลนี้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของแฟรงค์ซ้อนอยู่อีกชั้น เท่ากับหนังเรื่องนี้มี 3 ไทม์ไลน์หลักคือ

รีวิวหนังฝรั่ง The Irishman

The Irishman เล่าเรื่องราวในชั่วระยะเวลาร่วม 50 ปีในชีวิตของ แฟรงค์ ชีแรน (โรเบิร์ต เดอ นีโร) จากคนขับรถบรรทุกส่งขาหลังวัวไปทำสเต๊ก สู่วงการมาเฟียด้วยการชักชวนของ รัสเซล บัฟฟาลิโน (โจ เพสซี) ที่เปลี่ยนให้แฟรงค์ได้ลิ้มรสการฆ่าคนเพื่อเลี้ยงชีพในฐานะมือปืน ก่อนเขาจะได้เลื่อนขั้นไปเป็นผู้ติดตามของ จิมมี ฮอฟฟา (อัล ปาชิโน) เจ้าพ่อแห่งสหภาพแรงงานที่นำลาภยศชื่อเสียงมาให้แฟรงค์ได้สัมผัส แต่ในวงการสีเทา..มิตรและศัตรูอาจเปลี่ยนได้เพียงชั่วข้ามคืน

หลังวิวาทะอันร้อนแรงจากการไปวิจารณ์หนังมาร์เวลว่าเป็นเพียงแค่สวนสนุกไม่ใช่ภาพยนตร์ ก็คงจะพอทำให้คนรุ่นใหม่ได้ยินและรู้จักชื่อ มาร์ติน สกอร์เซซี (Martin Scorsese) บ้าง แม้จะในฐานะศัตรูแห่งยุคสมัยของหนังซูเปอร์ฮีโรมาร์เวลก็ตามทีเถอะ แต่หากจะให้กล่าวถึง สกอร์เซซี หรือ ลุงมาร์ตี้

แบบพอสังเขปก็พอบอกได้ว่าผลงานของลุงส่วนใหญ่มักเกี่ยวพันกับเรื่องราวแนวแอนตีฮีโร ชีวิตตัวเอกมักเผชิญกับชะตากรรมที่บัดซบเป็นประจำเพื่อจะได้ก้าวข้ามวิบากกรรมชีวิตตัวเอง ซึ่งมีทั้งหนังตลกอาชญากรรมอย่าง The King of Comedy (1982) หนังดราม่าประวัติบุคคลสำคัญทั้ง

นักมวย (Raging Bull, 1980) ดาไลลามะ (Kundun, 1997) มหาเศรษฐี (The Aviator, 2004) พ่อมดตลาดหุ้น (The Wolf of Wallstreet,2013) โดยหนังของลุงมาร์ตี้จะเด่นเรื่องความรุนแรงเป็นหลัก และหนังแนวหนึ่งที่ลุงมาร์ตี้ทำเป็นประจำได้แก่หนังมาร์เฟีย ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็น Goodfellas (1990)

ที่สื่อเมืองนอกอดเอามาเปรียบเทียบกับ The Irishman เรื่องนี้ไม่ได้ ทั้งการเล่าเรื่องของมิตรภาพลูกผู้ชายในวงการมาเฟีย รวมถึงการปรากฎตัวของขาประจำหนังลุงมาร์ตี้ทั้ง โรเบิร์ต เดอ นีโร และ โจ เพสซี ซึ่งก็มาจาก Goodfellas เหมือนกัน แต่กระนั้นก็ต้องบอกว่า The Irishman เองก็เป็นเครื่องพิสูจน์การบ่มเพาะประสบการณ์ทำหนังจนได้สถานะ Master of Cinema หรือ เอตทัคคะด้านภาพยนตร์คนหนึ่งในโลกภาพยนตร์ของชายชื่อ มาร์ติน สกอร์เซซี ได้เป็นอย่างดี

ความโดดเด่นของบทภาพยนตร์ The Irishman ของ สตีเฟน ซิลเลียน (ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายของ ชาร์ลส์ แบรนด์) คือการใช้ระยะเวลา 50 ปีในชีวิตตัวละครเพื่อบอกเล่าคู่ขนานไปกับประวัติศาสตร์ของอเมริกา ตั้งแต่การบุกคิวบาอันล้มเหลวที่ เบย์ออฟพิก

หรือการลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี โดยใช้เหตุการณ์ทางการเมืองมากล่าวถึงกระแสลมเปลี่ยนทิศที่ผลักตัวละครให้เผชิญปมปัญหาได้แนบเนียน (หากเปรียบกับนิยายไทยก็อาจจะใกล้เคียงกับ ประชาธิปไตยบนเส้นขนานของ วินทร์ เลียววาริณ)

รีวิวหนังฝรั่ง The Irishman

โดยหนังสร้างโลกมาเฟียที่มีโครงสร้างชัดเจนผ่านสหภาพแรงงานที่ประธานสหภาพแทบไม่ต่างจากหัวหน้าแก๊ง เป็นระบบอุปถัมภ์แบบเจ้าพ่ออย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งข้อดีอย่างแรกเลยคือทำให้มันต่างจากหนังมาเฟียส่วนใหญ่ที่จะวนเวียนกับการค้าของเถื่อน หรือฆ่ากันเพราะขัดผลประโยชน์ทางการค้า

แต่ใน The Irishman กลับเล่นอยู่สองประเด็นที่โดดเด่นนั่นคือ สายสัมพันธ์ และ กลไกอำนาจ ที่ขับเคลื่อนให้ตัวละครรุ่งเรือง หรือ ตกต่ำ ไปจนถึง ประสานผลประโยชน์ หรือ แตกหัก ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล และกระทบกับอารมณ์ความรู้สึกคนดูได้อย่างรุนแรงยิ่งกว่าฉากยิงกันเลือดกระจายเสียอีก

ถ้าจะว่าถึงเรื่องประเด็นสายสัมพันธ์ ในหนังมาร์ติน สกอร์เซซี ที่โดดเด่นมากได้แก่เรื่องครอบครัวที่นับเป็นสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งที่สุด แต่ใน The Irishman กลับให้ แฟรงค์ ชีแรน แทบไม่คอนเน็กต์กับครอบครัวตัวเองเลย ในหนังเราจะเห็นภาพเขากลับบ้านมาแป๊บ ๆ ก็ต้องออกไปทำงาน

หรืออาการห่างเหินกับลูกสาวอย่างเพ็กกี ก็ทำให้เห็นว่าสำหรับครอบครัวแล้ว เขาไม่ต่างจากคนแปลกหน้าเท่าใดนัก ตรงกันข้ามกับความสัมพันธ์กับรัสเซล หรือจิมมีที่เขาพร้อมตายถวายหัวและทำเรื่องอัปมงคลเพื่อ “ครอบครัวสีเทา” ของเขามากกว่า ซึ่งการปูพื้นเรื่องความห่างเหินกับครอบครัวตัวเอง หรือสายสัมพันธ์สีเทาในครอบครัวมาเฟียของแฟรงค์ นับเป็นระเบิดเวลาชั้นดีเมื่อถึงบทสรุป และที่สำคัญคือมันทำให้ช็อตสุดท้ายของหนังดูสงบนิ่งแต่ทรงพลังเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย.

ว่ากันถึงเรื่องกลไกอำนาจ The Irishman ฉลาดมากที่ดึงเหตุการณ์การเมืองเป็นฉากหลังเล่าเรื่องคู่ขนานกันไป เพราะมันทำให้เกิดภาพเปรียบเทียบเปรียบเปรยอย่างแยบยลของการเมืองระดับประเทศอย่างเก้าอี้ในทำเนียบขาวและเก้าอี้ประธานสหภาพแรงงาน

เพราะในขณะที่นิกสันกับเคนเนดีขับเคี่ยวกันจนฝ่ายหลังได้อำนาจ ในสหภาพเอง จิมมี ก็เพลี่ยงพล้ำเสียคะแนนและเก้าอี้ประธานสหภาพให้แก่ โทนี โพร (สตีเฟน เกรแฮม) จนเขาต้องหาทางกลับสู่อำนาจโดยหารู้ไม่ว่ามันจะทำให้ความสัมพันธ์ในองค์กรต้องระส่ำระสายและอาจหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับมิตรแท้รอบกายอีกด้วย จนอดนึกถึงเพลง ยิ่งสูงยิ่งหนาว ไม่ได้เพราะยิ่งขึ้นไปสูงเท่าไหร่ยิ่งหาคนรอบกายยากขึ้นทุกทีได้อย่างเห็นภาพมาก ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *