รีวิวหนังฝรั่ง Blonde (บลอนด์)
หยิบยกเรื่องราวของไอคอนคนสำคัญคนหนึ่งของฮอลลีวูดอย่างมาริลีน มอนโรมาบอกเล่าใหม่ได้อย่างโดดเด่น จากวัยเด็กที่ไม่ค่อยมั่นคงของเด็กสาวที่ชื่อนอร์ม่า จีน สู่การก้าวไปเป็นดาราดังและความรักความสัมพันธ์สุดยุ่งเหยิง โดยเล่าผ่านทั้งเรื่องจริงและเรื่องแต่งที่เส้นแบ่งแสนเลือนราง เพื่อสำรวจช่องว่างระหว่างตัวตนที่เปิดเผยแก่สาธารณชนกับตัวตนที่เป็นส่วนตัวของเธอ ดูหนังออนไลน์ฟรีไม่มีโฆษณา
นี่คือการกลับมาสู่สังเวียนงานสร้างหนังใหญ่อีกครั้งของผู้กำกับ “แอนดรูว์ โดมินิก”
หลังที่ปลีกตัวหันไปเอาดีกับหนังสารคดีในยุคหลัง ๆ ถือว่าเขาได้รับความไว้วางใจและกลับมาร่วมงานกับ แบรด พิตต์ อีกครั้ง ที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับหนังเรื่องนี้ หลังจากที่ทั้งคู่เคยทำงานด้วยกันมาในดราม่าเรื่องยาว The Assassination of Jesse James by the Coward Robert Ford เมื่อทศวรรษก่อน ดูหนังออนไลน์
หนังเรื่องนี้เป็นการดัดแปลงมาจากนิยายชีวประวัติเชิงพรรณนาของ “จอยซ์ แคโรล โอทส์”
ที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานมาสเตอร์พีชของเธอ แต่อาจจะไม่สามารถบอกได้ว่านี่เป็นการตีแผ่ชีวิตของ มาริลีน มอนโร ได้อย่างถ่องแท้ เพราะนี่คือเรื่องราวชีวิตของนักแสดงสาวสุดอื้อฉาวและเป็นตำนานแห่งยุค ผสมผสานกับเรื่องราวปรุงแต่งเพื่ออรรถรสความบันเทิงคละเคล้ากันไป
จากนิยายชื่อเดียวกันในปี 2000 ที่เข้าชิงรางวัลพูลิตเซอร์ของนักเขียนนิยายหญิงชื่อดังนาม จอยซ์ แคโรล โอตส์ (Joyce Carol Oates) ที่จับชีวประวัติของดาราสาวและผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในทศวรรษ 1950 อย่าง นอร์มา จีน (Norma Jeane) หรือที่คนทั้งโลกคุ้นหูจากชื่อในวงการมายาของเธออย่าง มาริลิน มอนโร (Marilyn Monroe) โดยโอตส์เลือกถ่ายทอดให้เป็นนิยายผ่านจินตนาการจากปลายปากกาของเธอมากกว่าจะเป็นงานเขียนเชิงสารคดี แต่ก็ช่วยเชื่อมรอยแหว่งเว้าในชีวิตอันโลดโผนโจนทะยานของมอนโรให้เข้าที่เข้าทางและเห็นมิติเชิงลึกในเรื่องราวของเธอมากขึ้นด้วย
แม้ว่าชีวิตของเธอจะกลายเป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาเกือบจะเป็นศตวรรษแล้ว แต่ชีวิตของเธอก็ยังเป็นเหมือนดราม่าที่ข่มขื่นตลอดกาลและตลอดไป และ Blonde ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งการดัดแปลงมาสู่จอใหญ่ที่ร้อยเรียงเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงที่เคยได้ชื่อว่าเป็น เซ็กส์ซิมโบลแห่งยุค แต่ระหว่างทางที่เธอไปถึงจุดสูงสุดของการมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการมายานั้น ล้วนแต่เป็นสีเทา
ตัวนิยายเคยถูกถ่ายทอดเป็นมินิซีรีส์ทางโทรทัศน์ชื่อเดียวกันในปี 2001 รีวิวหนังฝรั่ง Blonde (บลอนด์)
และนักแสดงชายมากเสน่ห์อย่าง แพตทริก เดมป์ซี (Patrick Dempsey) ร่วมแสดงนำ โดยเป็นการถ่ายทอดแบบแทบถอดบรรทัดต่อบรรทัดออกมาเป็นภาพ จากนั้นนิยายเรื่องนี้ก็ไม่เคยถูกหยิบจับมาทำอีก จนเมื่อนักแสดงและโปรดิวเซอร์ชื่อดังอย่าง แบรต พิตต์ (Brad Pitt) ได้เข้าร่วมอำนวยการสร้าง โปรเจกต์หนังเรื่องนี้ก็ถูกจับจ้องมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นผลงานการกำกับและเขียนบทจากผู้กำกับที่มีผลงานไม่มากชิ้นอย่าง แอนดรูว์ โดมินิก (Andrew Dominik) ที่เคยมีผลงานหนังชีวประวัติกึ่งกวีนิพนธ์เรื่อง ‘The Assassination of Jesse James by the Coward Robert Ford’ (2007) และ ‘Killing Them Softly’ (2012) ก็ตามที
นอกจากจะเป็นชีวประวัติของ Marilyn Monroe แล้ว ยังเป็นภาพยนตร์ดราม่าที่น่าหดหู่ใจมากๆ Marilyn เคยเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่าเริงสดใส แรงดึงดูดทางเพศ และค่านิยมความสวยช่วงปลายยุค 40’s ถึงต้นยุค 60’s และยังเป็นบุคคลทรงอิทธิพลในวงการฮอลลีวูดอีกด้วย แต่ในความจริงแล้ว เธอมีอีกตัวตนที่เก็บซ่อนเอาไว้ นั่นคือ เด็กหญิง Norma Jeane เด็กน้อยที่มีแม่วิกลจริต เด็กน้อยที่ไม่รู้ว่าพ่อจริงๆ ของเธอคือใคร ตลอดชีวิตของ Norma Jeane เธอไม่เคยได้รับความรักอย่างที่สมควรจะได้ หรือแท้จริงแล้ว…โลกไม่ได้อนุญาตให้เธอมีความสุข
Blonde ภาพยนตร์ดราม่า-โรแมนติกที่เล่าชีวประวัติของนักแสดงระดับตำนานอย่าง Marilyn Monroe โดยภาพยนตร์เรื่องนี้จะพาเราไปสำรวจอีกด้านของ Marilyn จากชีวิตวัยเด็กที่พลิกผันผ่านการก้าวขึ้นเป็นที่สุดแห่งไอคอนของฮอลลีวูด พร้อมเซาะแซะความวุ่นวายในเส้นทางรัก ทั้งยังตีแผ่ตัวตนจริงๆ ของเธอที่แตกต่างจากภาพที่แสดงออกสู่สาธารณะ โดยได้นักแสดงสาวฝีมือดีอย่าง Ana de Armas มาสวมบทบาทให้ Marilyn กลับมามีชีวิตโลดแล่นบนจออีกครั้ง
เรื่องบทและการดำเนินเรื่องคือไปแบบช้าๆ อย่างที่บอก และจะเรียกว่า Slow Burn ก็คงจะไม่ได้ เพราะ Slow Burn คือการปูเรื่องแบบเรื่อยๆ แต่ไประเบิดในตอนท้าย ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่แบบนั้น เพราะเขาปูเรื่องไปเรื่อยๆ และก็จบไปแบบดื้อๆ ซึ่งตอนจบมันน่าเศร้านะ แต่ก็ไม่ถึงกับน่าจดจำ ทั้งที่ชีวิตของเธอน่าสงสารขนาดนั้น แต่กลับสร้างอารมณ์ร่วมให้คนดูได้น้อยมากๆ ในด้านของการแสดง อนา เดอ อาร์มัส แสดงได้ดีนะ เสน่ห์เธอเหลือล้นมากๆ แต่ก็ยังมีหลายฉากที่ดูแปลกๆ และดูล้นๆ ไปบ้างๆ แต่หากมองในภาพรวมก็นับว่าใช้ได้พอสมควร อีกอย่างที่ต้องชื่นชมคือเธอดูทุ่มเทกับบทนี้มาก เพราะมีฉากที่ติดเรทเยอะเลย แต่เธอก็แสดงแบบจัดเต็มจริงๆ เรื่องนี้ขอชื่นชม นอกจากเธอแล้วนักแสดงสมทบคนอื่นๆ ก็แสดงกันได้ดีและมีเสน่ห์ทุกคน ในด้านการแสดงไม่ได้มีอะไรจะติมากมายนัก
อาจจะต้องบอกว่า Blonde เป็นหนังที่ค่อนข้างประคับประคองใจคนดูได้ค่อนข้างยาก เพราะการเรียบเรียงและเล่าเรื่องของหนังนั้น มีรายละเอียดและองค์ประกอบเยอะแยะเต็มไปหมดที่ไม่อาจจะตัดทอนได้ แต่กระนั้น Blonde ก็ค่อนข้างเป็นหนังที่มีจังหวะการเล่าเชิงศิลป์ปะปนอยู่กับศาสตร์ทางการแสดง ที่มีบางจุดบางมุมต้องตีความบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจะเข้าใจ
อุปสรรคหลักของ Blonde น่าจะเป็นความยาวของหนัง ที่ยาวมาก ๆ เกือบจะ 3 ชั่วโมงก็ว่าได้
ส่วนทิศทางการเล่าเรื่องนั้นก็ปะปนไปทั้งประเด็นที่น่าสนใจและอะไรที่เรียบเฉย เป็นหนังที่ปล่อยให้เรื่องราวดำเนินไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวมีแรงส่ง เดี๋ยวมีแรงผ่อน แต่บางจุดก็ยังไม่สามารถดึงดูดความน่าสนใจของคนดูเอาไว้ได้ดีพอ บางช่วงอาจจะมีเบื่อ ๆ และชวนเคลิ้มไปด้วยซ้ำ
แต่คงต้องบอกว่าการเลือกโดมินิกเป็นการเลือกผู้กำกับได้ถูกฝาถูกตัว ยิ่งเมื่อเห็นฝีไม้ลายมือในหนังชีวประวัติของ เจสซี เจมส์ มาแล้ว การเล่าเรื่องผ่านสุนทรียะทางภาพแบบกวีมันช่างไปได้ดีกับนิยายของโอตส์ ที่บันดาลดลเรื่องราวของมอนโรได้อย่างเข้มข้นเต็มไปด้วยการคำนึงถึงจิตวิทยาในเรื่องพัฒนาการของตัวละคร
แต่แทนที่จะเดินเรื่องไปตามตรรกะค่อย ๆ เรียงร้อยก่ออิฐสร้างบ้านให้เห็นร่างเด็กหญิงที่อ่อนต่อโลกนาม นอร์มา จีน ค่อย ๆ กลายร่างจากการถูกสาดหลากสีใส่ผ้าใบสีขาวขุ่นไม่รู้จบจนกลายเป็น มาริลิน มอนโร เช่นเดียวกับที่ผ่านมา โดมินิกกลับจับหัวใจของความหลงอยู่ในวงกตแห่งฝัน ที่คล้ายคนสะลึมสะลือไปด้วยฤทธิ์ยาจนไม่รู้ว่าอะไรจริงอะไรลวง หรือตัวตนของเธอนั้นคือจีนหรือมอนโรกันแน่
แต่หนึ่งในองค์ประกอบที่หนังหยิบมาใช้เล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจ ก็คือการใช้เทคนิคการลำดับร้อยเรียงภาพ รีวิวหนังฝรั่ง Blonde (บลอนด์)
โดยหนังเล่าเรื่องด้วยการใช้โทนภาพสีและภาพขาว-ดำสลับกันไป ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงสภาพจิตใจของตัวละครหลักโดยแท้ อาจสื่อได้ว่าเป็นมุมมองแนวคิดที่เป็น มาริลีน มอนโร และ นอร์มา จีน คละเคล้ากันไป ที่ต่างสะท้อนอารมณ์ที่แตกต่างกัน
“อนา เดอ อาร์มัส” ที่แบกรับเป็น มาริลีน มอนโร ในเรื่องนี้ ก็ถือว่าเป็นบทบาทที่ท้าทายและส่งเสริมอาชีพนักแสดงของเธอเป็นอย่างมาก แม้ว่าอาจจะต้องบอกตรง ๆ ว่า เธอยังไม่สามารถถ่ายทอดบทบทบาทนี้ได้ถึงแก่นสักเท่าไหร่ การแสดงของเธอยังดูเป็นการแสดงเกินไป แต่กระนั้นเธอก็ยังเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่โดดเด่นที่สุดอีกอย่างในหนังเรื่องนี้แล้วเช่นกัน
ด้วยวิธีการเล่าเรื่องที่ตัดภาพโดดข้ามไปมาเหมือนคนหลับ ๆ ตื่น ๆ ใส่ฉากเกินจริงต่อเนื่องไปอย่างไม่สอดคล้องกัน จนต้องคิดไปว่านี่เป็นความทรงจำจริง ๆ หรือเพียงมโนฝันของเด็กสาวที่มีทั้งฝันร้ายและสิ่งวาดหวังอยากให้เกิดขึ้นปนเปจนแยกไม่ออก ซ้ำภาพสีและขาวดำยังถูกใช้ขับเน้นทั้งความงามของภาพและสะท้อนห้วงคะนึงหนึ่งในอดีตแสนไกลได้อย่างลงตัว มันทำให้การชมหนังเรื่องนี้เราต้องมีทั้งสมาธิและความเข้าใจในการนำเสนอพอควร มันอาจไม่ได้อาร์ตจัดจนถีบคนดูออกห่าง แต่ก็คงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นหนังดราม่าบันเทิงเต็มสูบที่ย่อยง่าย ถึงบอกว่าต้องเข้าใจว่ามันใช้กลวิธีการเล่าที่แปลกสักหน่อย ที่หากพยายามไปเข้าใจทุกอย่างที่มันไม่เล่ามากไปก็อาจจะล้าสมองพอควร