รีวิวหนังฝรั่ง Greyhound
รีวิวหนังฝรั่ง Greyhound ดำเนินเรื่องในช่วง ค.ศ. 1942 เพียงไม่นานหลังจากสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเหตุการณ์ที่มีชื่อว่า Battle of the Atlantic หรือยุทธการแห่งแอตแลนติก โดยที่กองเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรกว่า 37 ลำ นำโดย นาวาตรี (Lieutenant Commander) Ernest Krause (รับบทโดยทอม แฮงก์ส) ที่เดินเรืออยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และกำลังถูกเรืออู (U-boats) หรือเรือดำน้ำของเยอรมนีไล่ตามล่า เว็บดูหนัง
นับเป็นเรื่องที่ 2 ที่ทอม แฮงค์ส รับบทเป็นนายทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อจาก Saving Private Ryan (1997) และเป็นเรื่องที่ 2 ที่เขารับบทเป็นกัปตันเรือ ต่อจาก Captain Phillips (2013) แม้ว่าหนังจะเล่าเหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สำหรับ Greyhound นั้น เพียงอิงเรื่องราวจากเหตุการณ์จริง แต่บุคคลต่าง ๆ ในเรื่องรวมถึงเรือรบ Greyhound ก็ถูกสมมติขึ้นเพราะว่าหนังดัดแปลงมาจากนิยาย The Good Sheperd ของ ซี.เอส. ฟอเรสเตอร์ ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1955 นู่น แต่ที่น่าสนใจก็คือเรื่องนี้ ทอม แฮงค์ส รับหน้าที่ดัดแปลงนิยายเป็นบทภาพยนตร์ด้วยตัวเอง นับเป็นหนังยาวเรื่องที่ 3 ที่เป็นฝีมือเขียนบทของเขา ต่อจาก Larry Crowne (2011) และ That Thing You Do (1996) นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมครับ สำหรับนักแสดงที่อยู่ในวงการมานานแล้วสั่งสมความสามารถในด้านต่าง ๆ มาพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่ได้มีดีแค่ฝีมือการแสดงเท่านั้น
หลังปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Greyhound ออกมาให้ชมกันเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็สร้างความฮือฮาต่อผู้ชื่นชอบภาพยนตร์สงครามไม่น้อย เพราะนักแสดงตัวพ่อของฮอลลีวูดอย่าง ทอม แฮงก์ส (Tom Hanks) กลับมารับบทนำในภาพยนตร์สงครามอีกครั้ง หลังจาก “Saving Private Ryan” ภาพยนตร์สงครามระดับตำนานที่ทอม แฮงก์สรับบทนำเข้าฉายไปเมื่อ ค.ศ. 1998 เว็บดูหนังฟรี
ผลงานนี้ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง เพียงแต่ “inspired by actual events” (ได้แรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น) ทอม แฮงก์ส เขียนบทภาพยนตร์ด้วยตัวเอง โดยดัดแปลงจากหนังสือนวนิยายเรื่อง The Good Shepherd เขียนโดย Cecil Scott Forester ที่ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1955
แม้ว่าเรา ๆ ต่างก็ดูหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 กันมาหลายสิบเรื่องแล้ว ล่าสุดก็เพิ่งได้ดู Midway กันไป แต่สำหรับ Greyhound ก็เลือกแง่มุมที่แตกต่างจากหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เคยผ่านตากันมา เพราะเลือกเล่าเรื่องจากมุมมองของกัปตันเรือพิฆาต ที่ได้รับมอบหมายให้คุ้มกันเรือขนส่งสินค้าจากอเมริกาไปอังกฤษ เป็นแง่มุมแปลกใหม่ที่ผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะไม่รู้ว่ามีภารกิจแบบนี้ดำเนินอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย แต่ละเที่ยวกองเรือพิฆาตเหล่านี้ต้องทำหน้าที่คุ้มครองเรือพาณิชย์ครั้งละหลายสิบลำ
ความสนุกเและเข้มข้นของหนังอยู่ในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง ที่กองเรือพิฆาตนี้ต้องทำหน้าที่บอดี้การ์ดให้เรือพาณิชย์ระหว่างที่ลอยลำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพราะตอนที่ออกจากฝั่งอเมริกานั้นจะมีกองบินคุ้มกันบินมาส่ง แต่ฝูงบินก็บินห่างจากชายฝั่งได้ในระยะจำกัด ความมันส์มันเริ่มจากนาทีที่นักบินวิทยุมาบอกกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ ว่า “ผมมาส่งได้แค่นี้นะ ขอให้เดินทางโดยปลอดภัย”
กัปตัน เออร์เนสต์ เคราส์ รับหน้าที่กัปตันเรือครั้งแรกก็ได้รับภารกิจสุดท้าทายเลย เขารับหน้าที่กัปตันประจำเรือพิฆาต เกรย์ฮาวนด์ เป็นจ่าฝูงของกองเรือคุ้มกันที่ประกอบไปด้วยเรือพิฆาต แฮร์รี และ อีเกิล จากกองทัพเรืออังกฤษ และ ดิคกี เรือพิฆาตสัญชาตแคนาเดียน ทั้งหมดร่วมกันคุ้มกันเรือสินค้าไปส่งจนถึงท่าเรือลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ พอฝูงบินคุ้มกันคล้อยหลังไปไม่นาน เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับ ฝูงเรือดำน้ำของเยอรมันที่ซุ่มโจมตีอยู่แล้ว ชื่อกองเรือว่า “หมาป่าสีเทา” เออร์เนสต์ เคราส์ ต้องบัญชาการทั้งเรือเกรย์ฮาวนด์ และเรืออื่นภายใต้บัญชาการเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จนกว่าจะใกล้ชายฝั่งอังกฤษที่จะมีฝูงบินคุ้มกันจากอังกฤษมาต้อนรับ
ซึ่งนอกจากจะต้องเผชิญกับศัตรูอย่างเยอรมนีแล้ว กองเรือพันธมิตรยังประสบปัญหาอีกหลายอย่าง ทั้งการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งขาดการป้องกันจากกองทัพอากาศเป็นเวลานานกว่า 5 วัน นอกจากนี้ ยังมีธรรมชาติเป็นศัตรูตัวฉกาจ ต้องเผชิญกับความบ้าคลั่งของท้องทะเลอีกด้วย หนังฟรี
รีวิวหนังฝรั่ง Greyhound
ยุทธการแห่งแอตแลนติกเป็นยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่และยาวนานมากที่สุดยุทธการหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 สมรภูมิแอตแลนติกสำคัญต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก เพราะน่านน้ำแห่งนี้เป็นเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัยและสินค้านับล้านตันสู่เกาะอังกฤษ ขณะที่ฝ่ายเยอรมนีตระหนักดีว่าอังกฤษได้ท่อน้ำเลียงจากอเมริกาและแคนาดา จึงจำเป็นต้องปิดล้อมเกาะและน่านน้ำด้วยกองเรืออูที่เลื่องชื่อ
ยุทธการแห่งแอตแลนติกแทบจะเกิดขึ้นทันทีหลังสงครามโลกครั้งที่ประทุ เรื่อยมาจนถึงช่วง ค.ศ. 1942 ซึ่งถือเป็นช่วงที่การรบเข้าสู่จุดสูงที่สุด และค่อย ๆ ลดความรุนแรงลงเมื่อกองเรืออูถูกจำกัดขอบเขต และฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถครอบครองน่านน้ำได้ในช่วงท้ายสงครามโลก คาดการณ์ว่าในยุทธการแห่งแอตแลนติกมีเรือฝ่ายสัมพันธมิตรจมลงกว่า 3,000 ลำ เสียชีวิตไปกว่า 30,000 คน ส่วนฝ่ายเยอรมนีนั้น เรืออูถูกจมลง 783 ลำ และทหารเสียชีวิตไปราว 28,000 คน
ความแตกต่างของ Greyhound ก็คือเราเคยเห็นแต่หนังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนบก แต่ไม่เคยเห็นหนังที่เล่าการสู้รบในท้องทะเลกันจริงจังแบบนี้มาก่อน แล้วสำคัญที่หนังได้ อารอน ชไนเดอร์ ผู้กำกับมือใหม่ที่เคยผ่านงานกำกับหนังมาแค่เรื่องเดียว Get Low (2009) แต่บทบาทจริงของเขาก็คือช่างถ่ายภาพยนตร์ ทำให้ Greyhound เป็นหนังสงครามที่ให้ความสำคัญกับงานภาพอย่างมาก เราได้เห็นภาพที่แปลกตาและน่าตื่นตาตื่นใจ ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของเรือพิฆาตที่พุ่งฝ่าคลื่น ได้เห็นภาพท้องทะเลจากมุมสูงขณะเรือรบกำลังโรมรันพันตูกัน ที่ประทับใจมากคือฉากเรือเกรย์ฮาวนด์หักหลบแบบฉิวเฉียดกับเรือโดยสารขนาดมหึมา หรือฉากกระหน่ำยิงแบบเผาขนกับเรือดำน้ำเยอรมัน บอกได้เลยว่านี่คือหนังที่ใช้ทุนสร้างเพียง 50 ล้านเหรียญแต่ให้ผลลัพธ์ทางด้านภาพได้คุ้มค่ามาก นั่งดูไปก็นึกเสียดายไปที่ไม่มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้บนจอใหญ่ เชื่อแน่ว่าจะได้รับความสนุกกว่าการดูบนจอทีวีหลายเท่าตัวนัก
อีกแง่มุมที่แตกต่างจากหนังสงครามโลกที่เคยผ่านตามา คือการเล่าเรื่องผ่านตัวกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ หนังแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบอย่างใหญ่หลวงของหน้าที่กัปตันเรือ เขาเป็นทั้งมันสมอง หัวใจของเรือทั้งลำ ทุกคำสั่ง ทุกการตัดสินใจต้องผ่านความเห็นชอบจากเขาเพียงคนเดียว แม้จะเป็นหนังสงคราม แต่ด้วยบทบาทของกัปตันเรือที่ออกคำสั่ง และรับรายงานจากลูกเรือทุกตำแหน่งอยู่ตลอดเวลา Greyhound จึงเป็นหนังที่มีบทพูดและซับไตเติลขึ้นตลอดเวลาแทบไม่เว้นว่าง ทำให้ดูแล้วรู้สึกเห็นใจกับภาระของกัปตันเออร์เนสต์อย่างมาก ต้องรับโทรศัพท์จากเรืออื่น รับข้อมูลจากต้นหน ต้นกล หนังใหม่
จากพนักงานสื่อสาร บลา บลา บลา บางทีก็ 2 เรื่อง 3 เรื่องมาพร้อม ๆ กัน แม้เรื่องนี้ไม่ใช่งานยากสำหรับทอม แฮงค์ส ที่รับมาทุกบทบาทแล้ว แต่ความสามารถของนักแสดง 2 ออสการ์ที่เล่นน้อยได้มากนี้ ก็ทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกกดดันของกัปตันเออร์เนสต์ เคราส์ ได้ผ่านการแสดงออกทางสีหน้าสายตาของทอม ที่ครุ่นคิด สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา ทอมยังแสดงให้คนดูเห็นถึงความอ่อนล้า ที่ค่อย ๆ มากขึ้นตามลำดับ ตลอดเวลา 48 ชั่วโมงที่เขาทำหน้าที่โดยไม่ได้พักผ่อน ลูกน้องแต่ละกะจะมาบอกลากัปตัน “หมดกะผมแล้วครับ” แต่กัปตันไม่มีใครสามารถมาทำหน้าที่แทนเขาได้เลย
“ทอม แฮงก์ส” ก็ยังคงยอดเยี่ยมในแบบนักแสดงอย่างเขา แม้ว่าในเรื่องนี้เขาจะไม่ได้โชว์ศักยภาพทางการแสดงที่พิเศษใดๆ ออกมา แต่การสื่อสารและสื่ออารมณ์ของเขาก็ยังยอดเยี่ยมตามท้องเรื่องได้อย่างไม่ติดขัด การสวมบทบาทเป็นกัปตันเรือ และผู้นำฝูงเรือทั้งหมด กลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของกัปตันที่เพิ่งจะลงมาประจำการบนเรือเพียงแค่ครั้งแรก และทริปแรกที่เจอของแข็งเอาเสียมากๆ ดูหนังฟรี
นอกจากนี้ ทอม แฮงก์ส ยังเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดัดแปลงและเขียนบทหนังเรื่องนี้ขึ้นมาเองด้วย ทำให้เราได้เห็นการใส่มุมข้อคิดและสัญลักษณ์บางอย่างอยู่ในตัวหนังบ้างเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นการตีความที่ใช้ศาสนาเข้ามาเป็นที่ยึดเหนี่ยว หรือการถ่ายทอดผ่านมุมมองของกัปตัน ที่เพิ่งจะมาร่วมงานกับลูกเรือทั้งลำ โดยที่เขายังไม่รู้จักใครดีเลยสักคนเดียว และทุกสายตาบนเรือก็มองที่เขาอย่างไม่คุ้นเคย เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ใส่เข้ามาอย่างใส่ใจ ท่ามกลางฉากระเบิดตูมตามที่เกิดขึ้น
ก็อย่างที่เกริ่นเอาไว้ Greyhound เป็นหนังที่คอหนังสงครามจะต้องถูกใจ เพราะในระยะเวลาไม่ถึง 90 นาที หนังเสิร์ฟฉากสงคราม สาดกระสุน หลบตอปิโดกันเกือบทุกนาที แทบจะไม่มีช่องเว้นว่างให้คนดูได้หายใจกันเลยทีเดียว พอจะตัดเข้าฉายดราม่าได้ซึ้งสักเล็กน้อย น้ำตายังไม่ทันได้เออออกมา ก็ต้องกลับเข้าสู่โหมดตึงเครียดกับการสู้รบอีกครั้ง แต่โดยรวมถือว่าหนังทำฉากสงครามออกมาค่อนข้างน่าพอใจ แม้ว่าจะหลายๆ ฉากที่ดูเป็นซีจีไปสักหน่อย
พูดได้ว่า Greyhound เป็นหนังที่ใช้งาน ทอม แฮงค์ส ได้คุ้มค่า ซึ่งตัวเขาเองก็ทุ่มเทตั้งใจอย่างเห็นได้ชัด เพราะหนังเรื่องนี้ก็พะยี่ห้อ Playtone บริษัทสร้างหนังของทอมเองด้วย เป็นหนังที่เน้นขายชื่อ ทอม แฮงค์ส คนเดียวกันชัด ๆ ไปเลย แม้ว่าหนังจะใช้นักแสดงจำนวนมาก แต่ทุกคนก็ล้วนเป็นลูกเรือใต้บังคับบัญชา ซึ่งบทบาทแต่ละคนก็เท่าเทียมกันไปหมด จำชื่อจำหน้าใครไม่ได้ก็ไม่มีผลกระทบกับอรรถรสของหนัง แต่ก็มีอยู่รายหนึ่งที่บทหนังของทอม แฮงค์ส ฉลาดที่สอดแทรกตัวละครนี้เข้ามาแบบเนียน ๆ แล้วใช้ประโยชน์ในการสร้างอารมณ์สะเทือนใจได้สำเร็จ แม้จะไม่ถึงกับเรียกน้ำตาได้แต่ก็ทำให้หนังมีช่วงดราม่าแทรกเข้ามาเป็นอีกรสชาติหนึ่ง ดูหนังออนไลน์