รีวิวหนังฝรั่ง AFTER YANG
รีวิวหนังฝรั่ง AFTER YANG ภาพยนตร์แนวดราม่าไซไฟที่จะพาคุณไปค้นหาคำตอบของชีวิต ภาพยนตร์แนวดราม่าอาจจะไม่ถูกใจใครหลายๆคน นั่นก็เป็นเพราะว่าการเล่าเรื่องราวแนวนี้มักจะดำเนินไปแบบช้าๆ ไม่ได้มีจุดพีคจุดเด่นอะไรให้เรารู้สึกสนุกไปกับมันเพราะมันเป็นเรื่องราวที่น่าเศร้าหรือมีปมประเด็นที่ไม่สามารถสนุกไปกับมันได้ ดูหนัง
ถึงคิวอีกหนึ่งหนังที่ค่อนข้างมีคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจ แม้ว่าแนวคิดต่าง ๆ ของหนังจะค่อนข้างดูซ้ำและไม่ได้แปลกใหม่สักเท่าไหร่จากหนังไซไฟที่คนกับหุ่นยนต์ต้องใช้ชีวิตร่วมกัน แต่สำหรับ “After Yang” เรื่องนี้ กลายเป็นหนังชีวิตผสมความเป็นไซไฟที่มาเพื่อไขปริศนาและค้นหาคำตอบแห่งชีวิตให้กับคนดูด้วยการร้อยเรียงเรื่องราวที่บรรจงและค่อยเป็นค่อยไป อาจจะบอกได้ว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังในกระแส แต่แกนหลักของเรื่องนี้…หนักแน่นเกินกว่าที่คาดหวังเอาไว้ไม่น้อย
After Yang เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ครอบครัวเล็ก ๆ ต้องเผชิญหน้ากับบททดสอบแห่งชีวิตที่สำคัญ เมื่อหุ่นยนต์แอนดรอยที่พวกเขาอุปการะไว้ ที่ชื่อว่า หยาง เกิดปัญหาขัดข้องบางอย่าง ทำให้ เจค ต้องหาหนทางในการช่วยเหลือและซ่อมระบบให้หยางกลับมาเป็นปกติ โดยที่ลูกสาวของเขาที่สนิทและรักหุ่นยนต์ตัวนี้เหมือนพี่ชายแท้ ๆ ต้องทนทุกข์กับวันที่ไม่มีหยาง เขากับภรรยาต้องประคับประคองและพยายามหาทางออกให้กับปัญหานี้ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขากับครอบครัวได้พบเจอกับอีกมุมที่ไม่คิดว่าจะมีอยู่จริง
นี่คือผลงานของ “โคโกนาดะ” ผู้กำกับหนุ่มเชื้อสายเอเชียผู้มีสไตล์ในการเล่าเรื่อง นี่ถือว่าเป็นหนังยาวเรื่องที่ 2 ของเขาในอาชีพผู้กำกับ และเขาก็เพิ่งจะมีผลงานแจ่ม ๆ ในซีรีส์ Pachinko ออกฉายไปหมาด ๆ ด้วย การตกผลึกและคั้นเรื่องราวออกมาจากมุมมองการนำเสนอของเขานั้น เต็มไปด้วยเสน่ห์และสไตล์ที่งดงาม แม้ว่าการดำเนินเรื่องจะค่อนข้างเนิบช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องยอมรับว่าช่วงแรก ๆ ทำเอาง่วงได้อยู่เหมือนกัน
แต่เมื่อหนังเริ่มปรับจูนและนำทางประเด็นได้ลงร่องลงรอยแล้ว ช่วงครึ่งหลังของ After Yang ก็เต็มไปด้วยท่วงทำนองที่ลึกซึ้งและไพเราะควบคู่กันไป กับแง่มุมแนวคิดเชิงปรัชญาชีวิตที่หนังได้สอดแทรกเอาไว้ได้อย่างตรงจุด และทรงพลังไปจนถึงปลายทาง ทำให้คิดว่าหนังที่ช่วงแรกจะอืดและยาวเกินไป ได้ปรับเปลี่ยนความคิดไปว่าเป็นหนังที่สั้นและยังไม่จุใจเท่าไหร่เมื่อได้สัมผัสในช่วงครึ่งหลังของเรื่องนี้ ดูหนังออนไลน์
ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นในหนังสือเยาวชน กับตอนที่มีชื่อว่า “Saying Goodbye to Yang” ที่ตีแผ่ออกมาเป็นหนังเรื่องยาวที่ค่อน ๆ ไล่ระดับความทรงพลังจากน้อยไปถึงมากได้อย่างอิ่มเอม โดยเฉพาะการใส่แกนเรื่องเป็นการค้นหาคำตอบของความหมายแห่งชีวิตในหนังเรื่องนี้ จากเริ่มแรกที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงหนังไซไฟธรรมดา ๆ และค่อย ๆ ใส่กิมมิกและข้อมูลเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ ได้อย่างทับถมใจ ก่อนจะกัดกินใจผู้ชมในช่วงคลื่นใหญ่ชุดสุดท้ายที่ถาโถมปิดฉากลงไปด้วยความลึกซึ้งถึงความหมายที่หนังต้องการสื่อถึง
แคสติ้งของ After Yang ถือว่าพร้อมกับความหลากหลายที่น่าสนใจไม่น้อย ยืนหลักด้วย “โคลิน ฟาร์เรลล์” ที่มาแบกรับหนังดราม่าเรื่องนี้ทั้งเรื่องได้สบาย ๆ การดีไซน์ตัวละครและอินเนอร์ของเขาทำได้ดี ขณะที่ “โจดี้ เทอร์เนอร์-สมิธ” ก็มารับบทเป็นภรรยาสาว ที่เต็มไปด้วยภาระหน้าที่ ส่วนลูกสาวที่รับบทโดย “มาเลีย เอ็มมา” ก็แบกรับบทนี้ได้ค่อนข้างน่าทึ่งและถ่ายทอดออกมาได้ดีเยี่ยม
หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวดราม่าเราขอแนะนำภาพยนตร์เรื่อง AFTER YANG มันเป็นภาพยนตร์แนวดราม่าที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจากมีการผสมผสานความเป็นไซไฟเข้ามาด้วย เล่นการเล่าเรื่องราวเมื่อมนุษย์และหุ่นยนต์ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ไม่เพียงเท่านั้นมันยังสามารถพาคุณไปค้นหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิตได้อีกด้วย
การเป็นภาพยนตร์แนวดราม่ามีข้อดีอยู่ 1 อย่างนั่นก็คือพวกเขาสามารถเล่าเรื่องราวแบบค่อยเป็นค่อยไป มีความบรรจงและละเมียดละไมทำให้เราสามารถดำดิ่งไปกับความรู้สึกของตัวละครได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ใช่ภาพยนตร์ในกระแสแต่มันก็มีความหนักแน่นและสร้างความบันเทิงให้กับผู้รับชมได้ไม่แพ้ใคร
ในโลกอนาคตอันไกลห่าง ครอบครัวหนึ่งรับเด็กสาวมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม แต่ด้วยความเป็นไปของโลกที่ก้าวอย่างฉับไวจนไม่อาจประวิงเวลา พวกเขาจำต้องเสาะหา “เทคโนเซเปี้ยน (technosapien)” ปัญญาประดิษฐ์ มาคอยดูแลและถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับเธอ นานวันเข้า ความผูกพันเริ่มก่อตัว “หยาง (Yang)” เปรียบเสมือนเป็นคนในครอบครัว จนกระทั่งความสูญเสียมาเยือนตรงหน้า และย้ำเตือนว่าทุกสรรพสิ่งล้วนมีอายุขัย มีโมงยามที่อาจชำรุดผุพังไปได้ในสักวัน
แม้ After Yang จะถูกจัดอยู่ในหนังประเภท sci-fi ที่ฉายให้เห็นภาพความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตามยุคสมัย และเล่าเรื่องโดยไร้เส้นแบ่งของเวลา แต่มันแตะเข้าถึงแก่นความเป็นธรรมชาติและสรรพสิ่งรอบข้างได้อย่างลุ่มลึกและอ่อนโยนมาก ด้วยการถ่ายทอดและร้อยเรียงได้งดงามราวกับบทกวี ที่แม้จะบอกเล่าและพาเราเดินทางผ่านเศษเสี้ยวความทรงจำที่กระจัดกระจายของปัญญาประดิษฐ์ แต่มันเต็มเปี่ยมไปด้วยหัวจิตหัวใจ ชีวิต และความเป็นมนุษย์
เป็นเรื่องราวที่จะเล่าถึงอนาคตอีกไม่ไกล ในช่วงเวลานั้นการที่ครอบครัวจะมีหุ่นยนต์ ANDROID ที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกับคนไม่มีผิดเพี้ยนเอาไว้ในครอบครองไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป แต่มันกลับทำให้ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่ต้องเผชิญกับบททดสอบสำคัญต่อชีวิตของพวกเขา
หุ่นยนต์ ANDROID ที่พวกเขาได้อุปการะไว้มีชื่อว่าหยาง เธอทำงานมาได้ด้วยดีโดยตลอดแต่แล้วในวันหนึ่งก็เกิดเหตุขัดข้องบางอย่าง หนึ่งในสมาชิกครอบครัวเจคจึงพยายามค้นหาวิธีการซ่อมระบบและช่วยเหลือให้เธอสามารถกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ลูกสาวของเขาทั้งรักและสนิทกับหุ่นยนต์ดังกล่าวเหมือนกับพี่ชายแท้ๆ ดูเหมือนว่าครอบครัวนี้จะไม่ได้มองว่าหยางเป็นหุ่นยนต์แต่มองว่าเป็นคนหนึ่งในครอบครัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รีวิวหนังฝรั่ง AFTER YANG
การที่หยางมีเหตุขัดข้องทางระบบทำให้ลูกสาวของเขาต้องเผชิญกับความเสียใจในวันที่ไม่มีหุ่นยนต์ ANDROID ที่เปรียบเสมือนกับพี่ชายอีกต่อไป ทั้งเขาและภรรยาจึงต้องพยายามประคับประคองสถานการณ์และหาทางออกเกี่ยวกับปัญหานี้ให้สำเร็จซึ่งมันก็กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเขาต้องพบเจอกับบางสิ่งที่พวกเขาไม่คิดว่าจะได้พบเจอ
หนังที่หยิบยกมาพูดถึงนี้ ผมได้มีโอกาสชมในเทศกาลหนังออนไลน์ Sundance เมื่อปีที่แล้ว พอได้ยินว่าจะนำมาฉายที่ไทยก็รู้สึกดีใจมาก ๆ ครับที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงอีกรอบ (สักที) After Yang เป็นหนังแนวไซไฟ-ดราม่าของค่าย A24 นำแสดงโดย Colin Farrell และดัดแปลงจากเรื่องสั้นเรื่อง Saying Goodbye to Yang ในหนังสือ Children of the New World ของผู้เขียน Alexander WeinStein บอกเล่าเรื่องราวในโลกอนาคตเกี่ยวกับครอบครัวแห่งความหลากหลาย ที่มีพ่อผิวขาว ภรรยาผิวดำ ลูกสาวเป็นคนเอเชีย และลูกชายคนโตเป็นแอนดรอยด์ แต่แล้ววันหนึ่งแอนดรอยด์ Yang กลับพังและหยุดทำงาน กำลังจะย่อยสลายในไม่ช้า หนังเรื่องนี้จึงเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ราวกับมีชื่อที่แท้จริงว่า ‘After Yang Death’
การตายของหยางบอกอะไร ทิ้งอะไรเอาไว้กับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ การรื้อค้นความทรงจำของหยางจะทำให้ครอบครัวนี้ค้นพบอะไร นำไปสู่อะไร สิ่งเหล่านี้คือคำถามที่เราต้องถามไปพร้อมกับตัวละคร จนถึงหนังจบ และแม้กระทั่งดูจบไปพักใหญ่แล้วก็ตาม
เป็นภาพยนตร์ที่ในช่วงแรกคุณอาจจะรู้สึกอบอุ่นหัวใจและดูเหมือนว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่มีอะไรที่น่าสนใจขนาดนั้น แต่เมื่อเรื่องราวเริ่มเล่าไปเรื่อยๆ และคุณเริ่มที่จะเข้าใจถึงความรู้สึกและบรรยากาศในเรื่องราวมากขึ้นกว่าเดิม ทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทางและคุณจะได้สัมผัสกับความดราม่าไซไฟแบบเต็มสูบ แต่มันไม่ใช่การเน้นเล่าเรื่องราวเพื่อให้คุณรู้สึกเศร้าเพียงแค่อย่างเดียว แต่มันทั้งบัณฑิตบรรจงและเต็มไปด้วยความลึกซึ้ง มีการสอดแทรกแนวคิดรวมไปถึงปรัชญาชีวิตเข้ามามากมายแถมยังเล่าได้ง่ายและตรงจุดอีกด้วย ทุกอย่างในเรื่องราวทั้งหมดสามารถส่งให้ตอนจบของภาพยนตร์ที่ดูเหมือนจะยืดยาวเรื่องนี้กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้คุณรู้สึกคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปอย่างแน่นอน ดูหนังฟรี
ภาพยนตร์ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นในหนังสือเยาวชนที่ถูกตีแผ่ออกมาในรูปแบบของคนแสดง การเล่าเรื่องราวชาญฉลาดเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถไล่ระดับพลังงานในภาพยนตร์ได้อย่างละเมียดละไมและเต็มอิ่ม แก่นเรื่องน่าติดตามและเต็มไปด้วยปริศนามากมายที่เราอยากจะหาคำตอบไปพร้อมกับทุกคน มีการสอดแทรกประเด็นเรื่องความหมายแห่งชีวิตและมันอาจจะทำให้คุณได้รับคำตอบเกี่ยวกับชีวิตของคุณเองได้อีกด้วย
อีกหนึ่งสิ่งที่สามารถทำได้ดีในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คืองานโปรดักชั่น ทั้งองค์ประกอบศิลป์และงานออกแบบสามารถทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม แม้ว่าภาพยนตร์จะไม่ได้บอกว่าเราอยู่ในโลกอนาคตแต่มันก็สามารถใส่รายละเอียดที่เราสามารถสังเกตได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันแต่อย่างใด แต่มันก็ไม่ได้เวอร์วังอลังการถึงขั้นลิเก เป็นภาพยนตร์แนวโลกอนาคตที่มีความสมจริงมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงอีกด้วย
แต่สปอตไลต์ไปจับจ้องอยู่กับนักแสดงหนุ่มที่เป็นคาแรกเตอร์ตามชื่อเรื่อง อย่าง “จัสติน เอช. มิน” ที่เป็นผลงานแจ้งเกิดให้กับเขาเลยก็ว่า ด้วยการมารับบทเป็นหุ่นยนต์ที่เต็มไปด้วยชีวิตจิตใจและแนวคิดที่เหนือกว่าหุ่นทั่วไป การตีโจทย์และตีความบทบาทนี้ของเขาทำออกมาได้ค่อนข้างดี กับการแสดงที่น้อยแต่มาก โดยที่ไม่ต้องพยายามอะไร และด้วยความหลากหลายของแคสติ้งเรื่องนี้ ทำให้หนังเต็มไปด้วยสีสันและสร้างความน่านใจได้เพิ่มขึ้นเป็นทวี
อีกหนึ่งองค์ประกอบที่อยากจะชื่นชมในหนังเรื่องนี้ไม่แพ้กัน ก็น่าจะเป็นโปรดักชั่นดีไซน์และองค์ประกอบศิลป์ต่าง ๆ ในเรื่อง แม้ว่าหนังจะไม่ได้ระบุว่าเป็นหนังจากโลกอนาคตในช่วงยุคไหน แต่หนังใส่รายละเอียดความเป็นไซไฟที่ไม่ได้ออกมาเป็นลิเก เป็นหนังโลกอนาคตที่ดีไซน์ออกมาได้สอดคล้องกับวิถีของมนุษย์ในโลกปัจจุบันได้ค่อนข้างลงตัว ไม่ได้ล้ำจินตนาการเกินไป ยังอยู่บนพื้นฐานของโลกอนาคตที่น่าจะเป็นไปได้
ดยเฉพาะการใส่กิมมิกเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องชาเข้ามาในหนังเรื่องนี้ ที่น่าจะเป็นหนึ่งฉากสำคัญของหนังเลยก็ว่า เป็นฉากธรรมดา ๆ ที่แฝงไปด้วยคำตอบและความทรงพลังในตัวเอง อีกทั้งหนังยังเด่นด้วยการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนและลงตัว เป็นการดีไซน์โลกแห่งอนาคนที่วัฒนธรรมเอเชียเข้ามามีบทบาทต่อพื้นฐานชีวิตที่ทำออกมาได้ค่อนข้างรู้สึกแปลกใหม่อยู่ไม่น้อย เว็บดูหนัง
ทั้งนี้ในภาพรวมนั้น After Yang อาจจะไม่ใช่หนังที่ใคร ๆ ก็ซึมซับและไม่อาจจะเข้าใจได้โดยไม่ผ่านการวิเคราะห์ แต่ก็เป็นหนังอีกเรื่องที่อยากจะมนุษย์ทุกคนได้มีโอกาสได้ดู แม้ว่าจะเป็นหนังที่เนิบช้าและเล่าเรื่องชวนเคลิ้มหลับ แต่แก่นสารของหนังเรื่องนี้มาพร้อมกับการตกตะกอนและตกผลึกที่ทรงคุณค่าในมุมมองความหมายของชีวิต ที่นับว่าเป็นหนังที่สร้างเซอร์ไพรส์เบา ๆ ให้กับเราไม่น้อย จากที่ทำให้ง่วงอยู่ดี ๆ กลายมาเป็นหนังน้ำดีที่ติดตรึงอยู่ในความคิดหลังดูจบไปได้อยู่นานสองนาน
คำว่า Love, Death + Robots ในชื่อแอนิเมชันซีรีส์ชื่อดังของ Netflix เป็นชื่อที่ผมอยากหยิบยืมมาใช้นิยาม After Yang เพราะหนังเกี่ยวข้องกับ 3 สิ่งนี้อย่างตรงไปตรงมา ความรักที่ครอบครัวนี้ (โดยเฉพาะคนลูกสาวอย่าง Mika มีให้กับ Yang) ความตายของ Yang ที่นำไปสู่การได้ทบทวน สังเกต และขบคิดเสมือนเป็นอุบัติการณ์ Thought-provoking (กระตุ้นความคิด) และความหมายของการเป็นมนุษย์และหุ่นยนต์ อะไรคือความแตกต่าง และอะไรคือสิ่งที่ทำให้ Being (สิ่งมีชีวิต) เป็น Being ได้
After Yang เป็นหนังที่ดูได้ 2 เลเยอร์ คือเลเยอร์บนในแง่ความบันเทิง ด้วยความเป็นหนังดราม่าที่มีพล็อตน่าสนใจและความยาวไม่มากไม่น้อยเกินไป กับเมื่อปอกเปลือกไปเรื่อย ๆ เลเยอร์ล่างคือในแง่อภิปรัชญา
เพราะหนังถือกำเนิดจากธรรมชาติแห่งความสงสัยใคร่รู้ของตัวผู้กำกับ Kogonada ที่ค่อนข้างจะเป็นคนสาย Philosophical หรือเจ้าปรัชญา/นักตั้งคำถามเกี่ยวกับสรรพสิ่งตัวยง เขานำความสงสัยในการอยู่ระหว่างกลางของความเป็นเอเชียและอเมริกัน – ที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นอะไรกันแน่ และอะไรคือความเป็นเอเชียและอเมริกัน หรือที่เขานิยามว่าคือความรู้สึกแปลกแยกและเป็นคนต่างถิ่นตลอดเวลา มาใช้ตั้งคำถามผ่านหนังเรื่องนี้
ด้วยการดัดแปลงจากบทพ่อแม่คนขาวสองคน ให้เป็นคนหนึ่งผิวขาว คนหนึ่งผิวดำ จากนั้นก็นำตัวละครลูกชาวเอเชียอย่าง Mika กับหุ่นยนต์แอนดรอยด์ชาวเอเชียอย่าง Yang จากเรื่องดั้งเดิมที่ต้องมาทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ ‘Chinese Fun Facts’ และให้ความรู้เกี่ยวกับ Asian-ness และถิ่นกำเนิดรวมถึงชาติพันธุ์ให้กับเด็กน้อย มาตั้งคำถามต่อว่า “แล้วอะไรคือความเอเชีย อะไรคือความจริงแท้กันล่ะ” หรือ “ถ้าหุ่นยนต์ถูกโปรแกรมให้เป็นเอเชีย ถ้าอย่างนั้นแล้วคนจะต่างอะไรกัน”
นี่เป็นแค่หนึ่งในนั้น เพราะหนังยังมีคำถามเหล่านี้อีกมากมาย แบบที่ดูแล้วต่อให้ไม่ได้อ่านบทความนี้ ก็สัมผัสได้ผ่านบทสนทนาในเรื่องว่า ผู้กำกับคนนี้ต้องสนใจเรื่องปรัชญาเป็นพิเศษแน่ ๆ เขาแม้กระทั่งนำเรื่องการ Grafting หรือตัดต่อกิ่งแม้ข้ามสายพันธุ์ มาพูดถึงประเด็นที่ทางและความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างผู้เกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับผู้ที่ถูกรับเลี้ยง หรือนำความชอบเรื่องชาไปให้ตัวละครตั้งคำถามต่อให้ว่า อะไรคือชา มันดียังไง และทำไมตัวละครพ่ออย่าง Jake ที่รับบทโดย Colin Farrell ถึงหมกมุ่นกับมัน จนไม่นึกไม่ฝันเหมือนกันว่าเรื่องเล็ก ๆ ที่เป็นเสมือน Soft Power เอเชียกลาย ๆ สะท้อนกระจายวงกว้างแบบคลื่นบนผิวน้ำไปถึงคำถามของการเป็นมนุษย์เลยทีเดียว ซึ่งคำตอบนั้นก็คือ ‘เรื่องราว’ และ ‘ความทรงจำอันประกอบขึ้นมา (Collective Memories)’ นั่นคือสาเหตุที่ผู้กำกับให้คำอธิบายสั้น ๆ กับหนัง “เราทุกคนคือ Yang” ครับ เราทุกคนคือ Hardware ที่มี Software และ File กับ Folder เป็นของตัวเอง เว็บดูหนังฟรี