รีวิว Arrival

Arrival คือหนังไซไฟที่ก่อกระแสล่ารางวัลช่วงปลายปีที่แล้วยาวมาถึงต้นปีนี้ โดยมีความหวังจะเข้าไปถึงออสการ์รอบท้ายๆ และเป็นผลงานกำกับของ เดนนิส วิลเลเนิฟ ที่สร้างชื่อจากหลากหนังดราม่าซับซ้อนด้วยพลอตน่าสนใจอย่าง Prisoners กับ Enemy (2013) และ Sicario (2015) ซึ่งในปีนี้เขายังจะมีหนังภาคต่อในตำนานอย่าง Blade Runner 2049 มาให้ชมอีกเรื่อง นับเป็นปีที่เขารุ่งสุดๆกับแนวไซไฟทีเดียว เว็บหนัง

 

สำหรับเรื่องนี้มือเขียนบท อีริค ไฮซ์เซเรอร์ ที่เคยมีผลงานในแนวแฟนตาซีสยองขวัญทั้งหนังรีเมคอย่าง A Nightmare on Elm Street (2010) The Thing (2011) และล่าสุดกับ Lights Out (2016) ก็ได้นำนิยายแนวไซไฟของ เท็ด เจียง เรื่อง Story of Your Life and Others มาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์อันเป็นแนวถนัดของเขา ชื่อเดิมของนิยายเคยถูกจะนำมาใช้เป็นชื่อหนังเช่นกัน ทว่าคนที่ได้ดูรอบทดลองต่างเห็นว่ามันสปอยล์และไม่น่าสนใจพอจึงกลายมาเป็นชื่อหนังในปัจจุบัน

 

รีวิว Arrival

 

หนังเล่าเรื่องของ ดร.หลุยส์ แบงค์ (เอมี่ อดัม) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ที่ถูกดึงตัวเข้าร่วมทีมของกองทัพสหรัฐในการตีความภาษาต่างดาว เพื่อทำการสื่อสารหาจุดประสงค์ของยานอวกาศลึกลับที่มายังรัฐมอนทาน่าซึ่งเป็น 1 ใน 12 จุดทั่วโลกที่ ยานอวกาศได้มาเยือน  เธอต้องร่วมมือกับนักฟิสิกส์อย่าง เอียน ดอนเนลลี่ (เจเรมี่ เรนเนอร์) ในฐานะทีมวิเคราะห์ประจำสหรัฐ โดยยังมีการประสานกับทีมนักวิทยาศาสตร์ของประเทศอื่นๆที่ยานอวกาศได้ไปจอด เช่น จีน รัสเซีย เป็นต้น

 

ท่ามกลางความไม่รู้เหนือรู้ใต้ในท่าทีของยานอวกาศ เพราะสื่อสารกันไม่เข้าใจ ด้านนอกสังคมก็เกิดความวุ่นวาย ประชาชนบางส่วนเริ่มก่อจลาจลและลุกฮือ ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนและรัสเซียเริ่มสิ้นสุดความอดทนในการรักษาท่าที และจะทำการ เว็บดูหนัง

 

รีวิว Arrival

 

ทำลายยานอวกาศเพื่อความปลอดภัยแบบแน่นอน หลุยส์และเอียน ที่ได้เข้าไปในตัวยานและพบกับมนุษย์ต่างดาวสองตน จึงต้องเร่งมือเพื่อค้นหาความหมายที่แท้จริงของภาษาสัญลักษณ์ที่มนุษย์ต่างดาวกำลังสื่อสาร ก่อนที่จะเกิดสงครามระหว่างดวงดาว

 

ตรงนี้เป็นพลอตที่ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง Babel (2006) ที่นำเสนอความไม่เข้าใจกันของมนุษย์ต่างชาติพันธุ์กันเองนี่ล่ะที่เป็นปัญหาใหญ่ยิ่งเสียกว่าการสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวเสียอีก อย่างที่ในตัวอย่างหนังตอนหนึ่งนางเอกถึงกับสบถออกมาว่า (ก่อนจะไปเข้าใจมนุษย์ต่างดาว) มนุษย์เราหาทางคุยกันเองก่อนไม่ได้หรือไง

 

รีวิว Arrival

 

ในอีกด้าน หลุยส์ ก็ตกอยู่ในความขัดแย้งภายในจากภาพความทรงจำอันแสนทรมานถึง ฮันนาห์ (Hunnah) ลูกสาวของเธอที่เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังวัยรุ่น ระหว่างที่ค้นหาความหมายของภาษาต่างดาวเธอมักจะเห็นภาพฝันถึงความทรงจำที่ไม่ปะติดปะต่อ ต่างๆ ซึ่งทั้งสร้างความทุกข์และบางครั้งก็ช่วยให้เธอค้นพบคำตอบของคำถามที่เธอกำลังศึกษาอยู่ ตรงนี้เองที่เป็นจุดขายสำคัญของเรื่องซึ่งมันยากที่จะเล่าครับ เพราะสปอยล์แน่ๆ ดังนั้นก็ขอกล่าวกว้างๆว่าหนังมีพลอตและคอนเซปต์ที่เป็น

 

วิทยาศาสตร์มากๆ หลายทฤษฎีถูกนำมาอธิบายผ่านบทสนทนาต่างๆ ถึงสิ่งที่เราจะรู้คำตอบในช่วงเฉลยของหนัง อย่างช่วงหนึ่งที่เอียนพูดถึงทฤษฎีว่าการใช้ภาษาเป็นตัวกำหนดรูปแบบความคิดของเรา ตรงนี้ถ้าตั้งใจดูตั้งใจฟังดีๆแล้ว จะเดาเรื่องถูกตั้งแต่กลางๆเรื่องเลยครับ เพราะหนังให้คำใบ้ต่างๆมาตลอดเรื่องทีเดียว

 

ก็นับว่าเป็นหนังที่หักมุมแต่ก็ไม่ได้เหวอนักสำหรับคอไซไฟหรือคอหนัง ซึ่งการหักมุมมันก็ไม่ใช่จุดขายล่ะนะ เพราะตัวคอนเซปต์นั้นต่างหากที่เป็นจุดขายแท้จริง และเป็นทฤษฎีด้านภาษาที่ยังไม่มีหนังไซไฟเรื่องไหนนำมาใช้นัก ตรงนี้เลยเป็นเรื่องน่าสนุกทีเดียว เว็บดูหนังฟรี

เนื้อเรื่องหนัง รีวิว Arrival

 

 

หนังมีข้อเสียหนักๆเลยที่การเล่าเรื่อง เพราะเอาจริงเนื้อหามันไม่ได้ยืดเยื้อได้ขนาดสองชั่วโมง สไตล์การทิ้งภาพและเคลื่อนภาพอ้อยอิ่ง รวมถึงบทคะนึงในห้วงความคิดต่างๆถูกนำมาใช้เพื่อขยายส่วนภาพฝันของนางเอก ทำให้หนังทั้งเรื่องดูคล้ายจะเป็น The Tree of Life (2011) ของ เทอร์เรนส์ มาลิค ฉบับอวกาศอยู่ไม่ปาน ซึ่งเป็นอะไรที่ทรมานคนดูยามเหนื่อยอ่อนมาก ๆ ยากต้านทานครับ โอกาสหลับกลางเรื่องสูงมากๆจริงๆ ใครจะดูควรเตรียมกำลังจิตไปให้พอเพียง

 

หนังมีองค์ประกอบหลายๆอย่างที่ทำให้เข้าใกล้คุณงามความดีของหนังตระกูลเดียวกันอย่างพวก Contact (1997) รวมถึงงานศิลป์ที่เรียบหรูลึกลับสไตล์ สแตนลี่ย์ คูบริก และพวกหนังรางวัลต่างๆที่ได้พูดถึงไปข้างต้น และสำหรับคอหนังไซไฟหนังเรื่องนี้ก็นำพาไปสู่ความครุ่นคิดใหม่ๆได้ แม้ว่าหนังจะมีสไตล์ทิ้งดิ่งที่ไม่ถูกโฉลกกับนักดูหนังทั่วๆไปนักแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า

 

หนังเรื่องนี้ทิ้งก้อนความคิดถึงการมีชีวิตในฐานะประชากรโลกและปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวเราได้อย่างมีรสนิยมทีเดียว หนังเข้าฉายรอบพิเศษตั้งแต่วันนี้ถึง 11 มกราคม ก่อนจะเข้าฉายปกติในวันที่ 12 มกราคมนี้ครับ ไปดูหนังเต็งออสการ์อีกเรื่องหนึ่งกัน

 

 

Arrival อาจไม่ใช่หนังเอเลี่ยนสไตล์บล็อกบัสเตอร์อย่างที่คนไทยชอบกันอย่าง ID4 เพราะมีสารที่ต้องอาศัยการตีความลึกซึ้งและใช้ความคิด ณ ขณะดูไปด้วย (แต่ก็ไม่ได้ตีความยากเท่าเรื่อง Enemy ของผู้กำกับคนเดียวกันนี้หรอกนะ) แต่หากใครอยากเสพงานภาพ Visual และงาน CGI สุดสวยล้ำโลกของหนังไซไฟแล้วล่ะก็ไม่ผิดหวังกับ Arrival แน่นอน

 

Arrival ไม่ได้มีฉากบู๊ ต่อสู้ หรือฉากเอเลี่ยนทำลายล้างโลกแต่อย่างใด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการสื่อสารและการแปลภาษาเอเลี่ยน ดังนั้นกลุ่มคนที่อาจจะชอบ Arrival อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มคนที่เรียนเกี่ยวกับภาษาหรือ Linguistics เช่นเดียวกับนางเอก ยกตัวอย่างไดอะล็อกเกี่ยวกับภาษาที่เราชอบ เพราะเป็นความรู้ใหม่ของเราคือ การยกตัวอย่างเปรียบเปรยกับเรื่องเล่าของชนเผ่าอะบอริจินสมัยที่มี “ผู้มาเยือน” แผ่นดินของเขา เกี่ยวกับต้นกำเนิดของคำว่า Kangaroo (จิงโจ้)

 

กล่าวคือ คำว่า Kangaroo มีที่มาจากครั้งที่ชาวตะวันตกมาค้นพบทวีปออสเตรเลียครั้งแรก เห็นจิงโจ้กระโดดไปมา อยากรู้ว่าคือตัวอะไร จึงถามชาวอะบอริจินซึ่งเป็นชนพื้นเมืองด้วยภาษาของตน แล้วชาวอะบอริจินฟังภาษาเขาไม่ออก ตอบเป็นภาษา

 

 

พื้นเมืองไปว่า “Kangaroo” ซึ่งแปลว่า “I don’t understand.” ทำให้ Kangaroo เป็นคำภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยว่าจิงโจ้แต่นั้นมา ในช่วงต้นเรื่อง Colonel Weber เลือก Dr. Brooks มาร่วมงานแทนนักแปลอีกคนหนึ่ง เพราะ Dr. Brooks แปลความหมายของ War หรือ Argument ในภาษาสันสกฤตได้ลึกซึ้งกว่า (“A desire for more cows”) เว็บหนังฟรี

 

ในหนังเล่าว่าแต่ละประเทศต่างก็มีนักแปลมาแปลภาษาเอเลี่ยนเช่นเดียวกับที่อเมริกามี Dr. Brooks ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็แปลและตีความความหมายของข้อความเอเลี่ยนแตกต่างกันไป แม้แต้คนชาติเดียวกันก็ยังตีความความหมายแตกต่างกันไปตามอาชีพหรือประสบการณ์ส่วนตัวทั้งที่อยู่ในบริบทเดียวกัน

 

ประวัตินักแสดง เอมี่อดัมส์ รีวิว Arrival

เอมี่อดัมส์ลู (เกิด 20 สิงหาคม 1974) เป็นชาวอเมริกันนักแสดง เธอเป็นที่รู้จักทั้งในบทบาทตลกและดราม่าเธอได้ปรากฏตัวสามครั้งในการจัดอันดับนักแสดงหญิงที่มีรายได้สูงสุดของโลกประจำปี รางวัลที่ได้รับได้แก่รางวัลลูกโลกทองคำ 2 รางวัลและ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 6 รางวัล , รางวัลภาพยนตร์ออสการ์ของอังกฤษ 7 รางวัลและรางวัลScreen Actors Guild Awardsอีก 9 รางวัล

 

อดัมส์เกิดที่เมืองวิเชนซาประเทศอิตาลีและเติบโตที่เมืองคาสเซิลร็อคโคโลราโดเป็นพี่น้องที่สี่ในเจ็ด เธอได้รับการฝึกฝนให้เป็นนักบัลเล่ต์ แต่ตอนอายุ 18 เธอก็พบว่าละครเพลงแบบที่ดีขึ้นและ 1994-1998, ทำงานอยู่ในโรงละครอาหารค่ำ อดัมส์ทำให้เธอ

 

มีการเปิดตัวภาพยนตร์ที่มีส่วนในการสนับสนุน 1999 เสียดสีตายลงที่งดงาม หลังจากย้ายมาที่ลอสแองเจลิสเธอได้ปรากฏตัวเป็นแขกรับเชิญในโทรทัศน์และรับบท “ผู้หญิงไร้เดียงสา” ในลักษณะเล็ก ๆ น้อย ๆ บทบาทสำคัญครั้งแรกของเธอคือภาพยนตร์

 

 

ชีวประวัติของสตีเวนสปีลเบิร์กCatch Me If You Can (2002) ประกบลีโอนาร์โดดิคาปริโอแต่เธอตกงานเป็นเวลาหนึ่งปีหลังจากนั้น ความก้าวหน้าของเธอเกิดขึ้นในส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่ขี้โมโหในภาพยนตร์ดราม่าคอมเมดี้อิสระJunebug (2005) ภาพยนตร์แนวมิวสิคัลแฟนตาซีเรื่องEnchanted (2007) ซึ่งอดัมส์รับบทเป็นเจ้าหญิงในเทพนิยายที่ร่าเริงเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญครั้งแรกของเธอในฐานะผู้นำหญิง เธอติดตามเรื่องนี้ด้วยการรับบทเป็นผู้หญิงที่ไร้เดียงสาและมองโลกในแง่ดีใน รีวิวหนัง

 

ภาพยนตร์หลายเรื่องเช่นละครเรื่องDoubt (2008) ต่อมาอดัมส์แสดงบทวิจารณ์ในเชิงบวกมากขึ้นในภาพยนตร์กีฬาเรื่องThe Fighter (2010) และภาพยนตร์ดราม่าเชิงจิตวิทยาเรื่องThe Master (2012) ในปี 2013 เธอเริ่มจิตรลัวส์เลนในภาพยนตร์

 

ซูเปอร์ฮีโร่ที่ตั้งอยู่ในจักรวาลดีซีขยาย อดัมส์ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสองรางวัลติดต่อกันสำหรับนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากการรับบทเป็นนักต้มตุ๋นในภาพยนตร์อาชญากรรมเรื่องAmerican Hustle (2013) และจิตรกรมาร์กาเร็ตคีนในภาพยนตร์

 

 

ชีวประวัติเรื่องBig Eyes (2014) เสียงชื่นชมมากขึ้นจากการรับบทเป็นนักภาษาศาสตร์ในภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์เรื่องArrival (2016) เจ้าของหอศิลป์ในภาพยนตร์เขย่าขวัญNocturnal Animals (2016) นักข่าวที่ทำร้ายตัวเองในละครเรื่องSharp Objects (2018) ของHBOและLynne CheneyในViceภาพยนตร์เสียดสี(2018)

 

บทบาทบนเวทีของอดัมส์ ได้แก่การคืนชีพInto the Woodsของ Public Theatreในปี 2012 ซึ่งเธอรับบทเป็น Baker’s Wife ในปี 2014 เธอได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหนึ่งใน100 บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกตามกาลเวลาและอยู่ในรายชื่อForbes Celebrity 100

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *