รีวิวหนังฝรั่ง The Power of the Dog
รีวิวหนังฝรั่ง The Power of the Dog หนัง Netflix ดัดแปลงจากนิยายของ Thomas Savage เรื่อง ‘The Power of the Dog’ ของผู้กำกับ Jane Campion ที่เพิ่งจะกวาดสามรางวัลลูกโลกทองคำไปหมาดๆ เป็นหนังคาวบอยที่สร้างความสดใหม่ให้กับหนังตระกูลนี้ด้วยการเล่าเรื่องแนวดราม่า (จริงๆ ต้องเรียกว่าดราม่า-จิตวิทยา) ที่บอกเล่าเรื่องแบบประณีตบรรจง เนิบช้า ค่อยๆ ดิ่งลึกผ่านเรื่องราว 5 บทในเรื่องเดียวกัน รีวิวหนังฝรั่ง
เมื่อเห็นชื่อหนังเรื่องนี้ทาง Netflix อาจรู้สึกงง ๆ ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหมาหรืออย่างไร แต่เมื่อดูรายชื่อนักแสดงตัวเป้งอย่าง เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ (Benedict Cumberbatch) และชื่อผู้กำกับหญิงชาวนิวซีแลนด์ เจน แคมเปียน (Jane Campion) ที่เคยสร้างชื่อไว้จากงานมาสเตอร์พีซ ‘The Piano’ (ซึ่งผู้เขียนประทับใจหนังเรื่องนี้มาก) ก็ไม่รีรอที่จะกดดู และก็ได้ค้นพบว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับหมา แต่เป็นเรื่องของ “คาวบอยบนหลังม้ากับการเยียวยาหัวใจตนเอง” ดูหนัง
แคมเปียนเขียนบทดัดแปลงจากนิยายชื่อเดียวกันของ โธมัส ซาเวจ (Thomas Savage) พื้นหลังคือปี 1925 ในฟาร์มปศุศัตว์ของรัฐมอนทานา ที่มีพี่ชาย ฟิล (คัมเบอร์แบตช์) และน้องชาย จอร์จ (เจสซี พลีมอนส์ – Jesse Plemons) สองพี่น้องที่มีนิสัยต่างกันอย่างสุดขั้ว ดูหนังออนไลน์
ฟิลเป็นคนอารมณ์ร้อน ชอบพูดจาถากถาง และวางท่าทีเป็นใหญ่อยู่ตลอดเวลา ขณะที่จอร์จเป็นคนพูดน้อย นิ่งเฉย สุภาพอ่อนโยน จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นเมื่อจอร์จตัดสินใจแต่งงานกับโรส (เคียร์สเต็น ดันสต์ Kirsten Dunst) แม่ม่ายที่สามีฆ่าตัวตาย ที่เมื่อเธอย้ายมาอยู่บ้านเดียวกัน ก็กลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากับฟิล ดูหนังฟรี
เซตติ้งของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 1925 ที่ไร่แห่งหนึ่งในรัฐมอนทานา ที่รันโดยสองพี่น้อง Burbank ที่นิสัยต่างกันคนละขั้ว Phil คนพี่ (Benedict Cumberbatch จาก Doctor Strange) เป็นคนเก่งแต่ชอบยกตนข่มท่าน โดยเฉพาะกับ George น้องชายของตัวเอง (Jesse Plemons จาก The Irishman) ผู้ดูสภาพ สะอาด และพูดน้อย เว็บดูหนัง
ต่อมา George แต่งงานกับแม่ม่ายลูกติด เมื่อ Rose (Kirsten Dunst จาก Spider-Man และเป็นภรรยาในชีวิตจริงของ Jesse Plemons) กับ Peter (Kodi Smit-McPhee จาก X-Men) ย้ายเข้ามา Phil ก็เย็นชาและร้ายใส่สองแม่ลูก เพราะเชื่อว่า Rose แต่งเพราะเงิน จนเธอกลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์ แต่ภายหลัง Phil ก็ค่อย ๆ ทำตัวดีกับ Peter เพราะเห็นอะไรบางอย่างในตัวเด็กคนนี้ที่คล้ายกับตัวเขาเอง เว็บดูหนังฟรี
สิ่งที่ทำให้เราชอบ The Power of the Dog มาก ๆ คือสไตล์การเล่าเรื่องและบทสรุปของเรื่องราวที่ชวนอ้าปากค้าง โดยหนังแบ่งเรื่องเป็น 5 พาร์ท และค่อย ๆ เล่าแบบสโลว์เบิร์น ซึ่งมีความดึงดูดอย่างแปลกประหลาด
ปกติเราสตรีมหนังดูที่บ้าน เราต้องหลุดโฟกัสบ้าง แต่สำหรับเรื่องนี้ เราละสายตาไม่ได้ เรารู้สึกว่าทุกรายละเอียดในแต่ละซีนมันมีความหมาย และมันมีคำถามที่ทำให้หนังมันน่าติดตาม เราจึงได้บอกว่า เสียดายที่ไม่ได้ดูเรื่องนี้ในโรง
หนังมักเล่าข้าม ๆ อะไรไปบ้าง เช่น ทำไมจู่ ๆ Rose ทำหน้าแบบนี้ ซึ่งแรก ๆ เรายังไม่ชินก็ “เอ๊ะ เราพลาดอะไรไปหรือเปล่านะ” แต่พอเข้าที่เข้าทางแล้ว เราจะปะติดปะต่อได้เองจากบริบท และเข้าใจว่า หนังไม่ได้ลงดีเทลในส่วนที่ไม่จำเป็น
แล้วส่วนที่หนังเลือกโชว์ให้คนดูเห็น ชัดแจ้งก็ดี คลุมเครือก็ดี รวมถึงไดอะล็อกต่าง ๆ ทั้งที่ตัวละครพูดก็ดี ไม่พูดก็ดี ล้วนแต่มีความสำคัญ และข้อมูลทั้งหมดที่คนดูถูกป้อนมา ล้วนเมคเซนส์และตอบประเด็นสำคัญได้หมดในฉากจบ ซึ่งทรงพลัง จนเราต้องอุทานว่า “เชี้ยยยย…” และพอหนังจบแล้ว เราไม่จบ เราอดย้อนคิดถึงหนังไม่ได้เลย
รีวิวหนังฝรั่ง The Power of the Dog
หลังจากนั้นไม่นาน พีต (โคดี สมิต-แม็กฟี – Kodi Smit-McPhee) ลูกชายคนเดียวของโรส หนุ่มวัยรุ่นขี้อาย รูปร่างผอมบาง และมีบุคลิกนุ่มนิ่ม ก็ย้ายเข้ามาพักชั่วคราวในช่วงที่มหาวิทยาลัยปิดเทอม ฟิลที่เคยแดกดันพีตเรื่องที่เขาชอบทำงานประดิษฐ์และแต่งตัวเหมือนผู้หญิง
ก็หงุดหงิดใจยิ่งกว่าเดิม แต่จากนั้นฟิลและพีตก็ค่อย ๆ พัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น ฟิลและลูกน้องสอนพีตขี่ม้า จากที่เคยเป็นศัตรู ทั้งสองเริ่มเปิดใจกันมากขึ้น เล่าเรื่องราวความลับในอดีตของกันและกัน ทว่าความสนิทสนมของฟิลและพีตกลับสร้างความไม่พอใจให้กับโรสและจอร์จ
ด้วยความยาวสองชั่วโมงเต็ม ‘The Power of the Dog’ ไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยพล็อตที่หวือหวา แต่ดำเนินเรื่องด้วยพัฒนาการและความสัมพันธ์ของตัวละครทั้งสี่คน โทนหนังคือดราม่าเข้มข้นที่ดูนิ่ง เย็นยะเยือก แต่กลับมีพลังในทุกฉาก กระทั่งฉากไคลแม็กซ์ก็ยังนำเสนอออกมาแบบไม่คาดคั้น
สอดคล้องกับบรรยากาศธรรมชาติแบบชนบทของหนังที่มีเพียงภูเขา ทุ่งหญ้า แม่น้ำ ม้า วัว และสุนัข ซึ่งเมื่อผ่านการกำกับภาพของอารี เวกเนอร์ (Ari Wegner) ก็กลายเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ ภาพสวยตราตรึงทุกฉาก ขณะเดียวกันก็ซ่อนความหมายแฝงไว้อยู่บ่อยครั้ง
คล้ายกับ ‘The Piano’ ที่แคมเปียนใช้วิธีใส่สัญญะไว้ในการกำกับภาพเช่นกัน เมื่อบวกกับดนตรีประกอบของจอนนี กรีนวูด (มือกีตาร์จาก Radiohead) ที่เน้นการใช้เครื่องสายที่สร้างความระทึกใจและว้าวุ่นใจได้ไปพร้อมกัน ที่สำคัญคือมาแบบน้อย ๆ ไม่โฉ่งฉ่าง แต่มาถูกจังหวะทุกครั้ง
ประเด็นในหนังมีการพูดถึงการยอมรับเพศทางเลือกในสมัยนั้น แต่ก็ไม่ได้ตีความออกมาเหมือน ‘Brokeback Mountain’ ของอั้งลี่ (Ang Lee) ที่มีตัวละครและฉากหลังคล้ายคลึงกัน แต่ ‘The Power of the Dog’ มีสารที่กว้างกว่าเรื่องรักร่วมเพศ แต่ยังพูดถึงการค้นหาและยอมรับตนเอง
การไม่ปล่อยวางจากอดีต รวมไปถึงความหมายที่แท้จริงของบุรุษเพศ โดยสะท้อนออกมาให้ผู้ชมเห็นแบบลางเลือน หลายปมในเรื่อง (รวมทั้งปมสำคัญในตอนจบ) ไม่ถูกคลี่คลาย ปล่อยให้คนดูได้นำไปคิดต่อเอาเอง ทว่าก็ไม่ใช่หนังที่ดูยากหรือต้องอาศัยกระบวนการทางความคิดแต่อย่างใด
ชัดเจนว่า Phil ถูกฆ่าโดยคนที่ฉลาดที่สุดและเหี้ยมที่สุดในเรื่อง นั่นก็คือ Peter — เด็กที่แม่ของเขา รวมถึงคนดูอย่างเรา ๆ มองมาตลอดว่า เขาเป็นเด็กอ่อนแอ เป็นเหยื่อผู้ถูกกระทำ และอาจไม่สตรองพอสำหรับไร่แห่งนี้
จริง ๆ แล้ว หนังปูพื้นให้ Peter เป็นนักฆ่า หรือคนที่พร้อมฆ่าเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองมาแต่ต้นแล้ว จะเห็นได้ชัดจากฉากที่เขาฆ่ากระต่ายตัวเป็น ๆ มาผ่าเพื่อการศึกษา
และดีไม่ดี เขาเองนี่แหละที่เป็นคนฆ่าพ่อแท้ ๆ ของตัวเอง แต่โกหกว่า พ่อผูกคอตาย และตัวเองไปพบศพเป็นคนแรก เพราะเราไม่เห็นเหตุผลเลยว่าพ่อจะฆ่าตัวตายทำไม ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับหนังที่ทุกดีเทลมีความหมายอย่างเรื่องนี้
สารสำคัญที่หนังบอกคนดูตั้งแต่เปิดเรื่องก็คือ Peter รักแม่เหนือสิ่งอื่นใด และพร้อมทำทุกอย่างเพื่อความสุขของแม่ เป็นไปได้ว่า เขาทนไม่ได้ที่เห็นแม่ต้องทนทุกข์กับสามีขี้เมา เขาเลยใช้เชือกฆ่าพ่อเสียเอง
และพอแม่ต้องมา suffer เพราะ Phil อีก เขาก็กำจัด Phil ด้วยเชือกและความรู้ที่ได้จาก Phil เอง (ทั้งเรื่องขี่ม้า และโรคของวัว รวมถึงตำราแพทย์ของพ่อ) โดยเอาหนังดิบของวัวที่ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ (ตัวที่เขาแอบขี่ม้าไปชำแหละมาคนเดียว) มาให้ Phil ซึ่งมือมีแผลอยู่แล้ว
(จากการถูกเสี้ยนตำตอนพยายามจับกระต่ายกับ Peter) ใช้ถักเชือก (ปกติ Phil จะระมัดระวังเรื่องการสัมพัสกับสัตว์ที่เป็นโรคมาก แต่ก็มั่นใจเสมอที่จะทำงานด้วยมือเปล่า — ซึ่งถุงมือเป็นสัญลักษณ์ของ protection ที่เราจะเห็นอยู่ 3-4 ครั้งในหนังด้วย)
และหลังจาก Phil ตาย แม่ก็มีความสุขขึ้นจริง ๆ แต่ฉากจบที่ Peter ยิ้มหลังเห็นแม่กำลังมีความสุขกับสามี เป็นรอยยิ้มที่คนดูต้องตีความและคิดเองกันต่อไปว่า เขายิ้มเพราะดีใจที่ในที่สุดแม่ก็มีความสุขในบ้านหลังใหญ่จริง ๆ เสียที หรือ George จะเป็นเหยื่อรายต่อไป
เพราะที่ผ่านมา George ก็เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ที่ toxic สำหรับ Rose เหมือนกัน ทั้ง ignore — ไม่ปกป้องเมียที่ถูกพี่ชายดูแคลน ทั้งทิ้งให้เมียอยู่บ้านคนเดียวเหงา ๆ นาน ๆ บ่อย ๆ ทั้งพยายามให้เมียเข้าสังคมชั้นสูงในแบบที่เธอไม่อยากทำ ฯลฯ เหมือนเขาแต่งงานกับ Rose เพราะไม่อยากรู้สึกเหงาอีกต่อไป ก็แค่นั้น